ตั้งค่า WordPress – เรียนรู้ละเอียดทุกส่วนในเมนู Setting WP (ทบทวน)

ตั้งค่า wordpress setting wp

ตั้งค่า WordPress – เรียนรู้ละเอียดทุกส่วนในเมนู Setting WP

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน  WordPress นั้นเป็นเครื่องมือทำเว็บที่ดี มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญมันเป็นเครื่องมือทำเว็บที่นิยมติดอันดับโลกเลยก็ว่าได้  เราสามารถปรับแต่งมันได้หลากหลายมาก ให้เข้ากับความต้องการของเราเอง ไม่เหมือนการใช้งานเว็บสำเร็จรูปที่อยากจะทำอะไรเพิ่มก็ยากไม่ค่อยยืดหยุ่น  ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการ ตั้งค่า WordPress  คุณสามารถที่จะกำหนดค่าต่างๆได้ตามใจคุณ  จาก Setting Area ของ WordPress 

แจ้งเตือนสำหรับผู้อ่านที่อยากสร้างเว็บด้วยตัวเอง ไม่มีประสบการณ์อะไรเลย หรืออยากดูบทความอื่นๆเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ในเว็บของเรา  ไปเริ่มต้นได้ที่  สอนวิธีสร้างเว็บไซต์ด้วยตนเอง  ในนั้นจะมีอะไรให้อ่านเยอะมาก  รวมถึงเป็นหน้าสารบัญถึงบทความทุกบทความที่เกี่ยวข้องกับการทำเว็บ

 

เช่าพื้นที่ทำเว็บ fastcomet เพื่อทำเว็บไซต์ของตัวเอง ลดทันที 15% คลิ๊กเลย

บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ riwwee.com แต่เพียงผู้เดียว ห้ามก๊อปปี้ หรือทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตครับ
สารบัญ

อัพเดตบทความวันที่ 30 กันยายน 2561

ก่อนที่จะเริ่มเรียนรู้อย่าลืมล๊อกอินเข้าหลังบ้านก่อนนะครับ www.yourdomain.com/wp-admin  อย่าลืมเปลี่ยน yourdomain เป็นชื่อ domain ของคุณ  พร้อมแล้วตามมาครับ

 

ขั้นตอนที่ 1 การตั้งค่าทั่วไป (General Settings)

เพื่อที่จะเริ่มต้นการตั้งค่า WordPress ของคุณเอง  ให้ดูที่เมนูด้านซ้ายตามภาพเลยครับ  เส้นทาง  Settings>General

wordpress ตั้งค่า

ตั้งค่า wordpress ทั่วไป

 

เมื่อคลิ๊กแล้ว  นี่จะเป็นส่วนแรกของการตั้งค่าเลยก็ว่าได้  ผมจะรีวิวส่วนสำคัญทั้ง 4 ที่เราจะต้องเข้าใจ  ดูตามภาพด้านล่างนี้ได้เลย

wordpress settings ตั้งค่าชื่อเว็บและคำอธิบายเว็บ

  • Site Tittle – ตรงนี้ให้ใช้ภาษาไทยเขียนได้ครับ  เขียนชื่อเว็บเราลงไป มันจะแสดงผลอยู่ในส่วนของชื่อบทความ  เช่นเว็บของผมนี้ผมจะใส่ว่า  Riwwee รีวิว เป็นส่วนของ Title นั่นเอง
  • Tagline – ใส่สโลแกนเว็บย่อๆของคุณลงไป  เช่น  รีวิวแบบเจาะลึกแบบละเอียดยิบไม่มีกั๊กได้ฟรี
  • WordPress Address (URl)  อันนี้เป็น url เว็บของเรา ของผมก็ http://riwwee.com จริงๆแล้วส่วนนี้ห้ามแตะต้องเลยครับ  เพราะอาจจะทำให้เว็บเราเสียได้เลยถ้าปรับไม่เป็น
  • Site Address (URL) เปลี่ยน url ช่องนี้ ถ้าคุณต้องการใช้ฟีเจอร์ให้อนุญาตเก็บไฟล์ของเว็บทั้งหมดใน directory ที่แตกต่างจาก directory ปัจจุบันของเว็บของเรา  ฟังดูอาจจะงงๆ เอาเป็นว่า  ห้ามยุ่งเลยละกันช่องนี้

สีแดง   ห้ามยุ่ง

ส่วนสำคัญอื่นๆ สำหรับการลงทะเบียน  ตามภาพด้านล่าง

wordpress settings อนุญาตให้สมัครสมาชิกในเว็บหรือไม่?

ตรงส่วน Membership นี้ 

  • ถ้าติ๊กถูก หน้า Anyone can register หมายถึงว่าใครก็ได้สามารถลงทะเบียนเป็นสมาชิกของเว็บเราได้  
  • ถ้าเอาติ๊กออก  หมายถึง ห้ามลงทะเบียนเป็นสมาชิกในเว็บเรา  จริงๆส่วนสมาชิกนี้ก็ไม่ค่อยจำเป็นเท่าไร  ส่วนใหญ่แล้วผู้อ่านจะเข้ามาอ่านเฉยๆครับ  หรือเดี๋ยวนี้เขาจะใช้ปลั๊กอินเสริม  ใช้ facebook login กันหมดแล้ว เพราะมันสะดวกในการแสดงความเห็น

 

ถัดมาสมมติว่าถ้าเรา ติ๊กถูก หน้า Anyone can register เราจะให้บทบาทสำหรับคนที่ลงทะเบียนเข้ามาทำอะไรได้บ้าง  ส่วนใหญ่แล้วค่าตรงนี้เราจะไม่เปลี่ยนครับ ใช้ค่าปกติของมันเลยคือ Subscriber ก็คือผู้ติดตามนั่นเอง  สิทธิ์โดยชอบธรรมของผู้ติดตามเว็บก็คือ  รับข่าวสารและเม้นได้เท่านั้นครับ  ฮ่าๆ และดูไม่มีประโยชน์จริงๆ

แล้วมันดียังไงถ้าให้คนที่ ลงทะเบียนเท่านั้นที่เม้นได้  ก็มีประโยชน์อยู่ตรงที่ว่า  สมมติเว็บเราอนุญาตให้แสดงความเห็นได้  แล้วเราเปิดให้ใครก็ได้มาเม้นได้  เราจะเจอ bot ครับ  พวกหุ้นยนต์ทางคอมพิวเตอร์  มีคนตั้งค่าไว้เปิดโปรแกรมไว้  มันจะวิ่งหาเว็บที่มีรูรั่วแบบนี้ล่ะเปิดให้เม้นได้อิสระ  และมันก็พบเว็บเรา และมันก็จะมาเม้น เรียกว่า Spam ที่เว็บเรา  สุดท้ายเว็บเราก็จะมีแต่เม้นขยะ

 

การบังคับให้ลงทะเบียนก่อนเม้น จึงเป็นส่วนช่วยกันในระดับหนึ่งว่าเราจะได้ คน มาเม้นจริงๆ  ป้องกันได้ส่วนหนึ่งล่ะนิดนึงๆนะ  แต่ก็มีวิธีอื่นช่วยป้องกันอีกนะ  เรียกว่าใช้ reCaptcha  เคยเห็นมั้ยที่มันบอกให้เรากรอกตัวเลขก่อน หรือตัวหนังสือก่อน เพื่อยืนยัน ตัวเองแล้วไปยังขั้นตอนต่อไปประมาณนั้นล่ะ

wordpress settings ตั้งค่ารูปแบบเวลา

wordpress settings ตั้งค่ารูปแบบเวลา

รูปแบบเวลาก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไรหรอก ใช้แบบเดิมของมันนี่ล่ะดีแล้ว

เมื่อคุณปรับค่าเรียบร้อยแล้ว กด  Save Changes  ได้ทันที เป็นอันเสร็จสำหรับการตั้งค่าทั่วไป

ขั้นตอนที่ 2 การตั้งค่าการเขียน (Writing Settings)

ส่วนถัดไปนี้ของการตั้งค่า  เราจะมาดูที่ Writing Setting  ซึ่งอยู่ภายใต้เมนู Setting อีกเช่นเคย ดูตามภาพเลย

wordpress ตั้งค่า

wordpress ตั้งค่าการเขียน

ถัดมาจะมีค่าให้เราสามารถปรับได้นิดหน่อย  ซึ่งมันจะถูกใช้เกี่ยวข้องกับการโพสต์บทความในเว็บของคุณ ดูตามภาพด้านล่าง

  • Formatting – ตั้งค่ารูปแบบข้อความ
    • ถ้าติ๊กถูกหน้า Convert emoticons like 🙂 and 😛 to graphics on display หมายถึงถ้าเราเขียนข้อความมี : – ) หรือแบบ : – P ประมาณนี้นะครับ  ตัว WordPress จะแปลงเป็น icon กราฟฟิกสวยๆให้คุณอัตโนมัติเลย
    • ถ้าติ๊กถูกหน้า  WordPress should correct invalidly nested XHTML automatically หมายถึงถ้าคุณเขียนข้อความที่เป็น XHTML แล้วมันผิดรูปแบบ จะให้ WordPress แก้ไขให้ถูกรูปแบบเลยมั้ย ส่วนนี้ข้ามเลยก็ได้ครับเพราะเราไม่ได้ใช้ ไม่ต้องติ๊กถูก
  • Default Post Category – ตรงนี้เขาจะให้เรากำหนดว่า  หมวดหมู่ปกติ เวลาเราเขียนบทความ ถ้าคุณไม่ได้กำหนดหมวดหมู่ คุณจะให้ WordPress นำบทความของเราไปอยู่ที่หมวดหมู่ไหน  ปกติแล้วจะตั้งไว้ที่ Uncategorized แปลว่าไม่มีหมวดหมู่นั่นเอง
  • Default Post Format – Tสำหรับตรงส่วนนี้  ปกติแล้วเวลาเราจะโพสต์บทความที่ Post เมนูของ WordPress คุณจะให้บทความเราจัดอยู่ในรูปแบบไหนเป็นค่าปกติ  ของผมเลือก Standard หมายถึงบทความที่เป็นตัวหนังสือธรรมดา แทรกภาพเข้าไปก็ได้ ประมาณนั้น  เหมือนโปรแกรม Word แล้วก็เขียนข้อความเข้าไปได้น่ะ  จริงๆมันมีให้เลือกเยอะมากมาย ขึ้นอยู่กับ Theme ที่เราใช้ด้วยว่าสนับสนุนฟีเจอร์อะไรบ้าง  เช่น  
    • Standard  เป็นโพสต์มาตรฐาน
    • Link   เป็นโพสต์ที่ปรับรูปแบบให้เหมาะกับการแสดงลิงค์
    • Image  เป็นโพสต์ที่ปรับรูปแบบให้เหมาะกับการแสดงภาพ  เป็นต้น

 

เพิ่มเติม ในหน้าเดียวกันนี้ คุณจะพบกับการตั้งค่าการสร้างโพสต์ หรือการสร้างบทความ ผ่าน อีเมล์ตามภาพด้านล่าง  ประโยชน์ของมันคือ  ถ้าคุณตั้งค่าเสร็จ  สมมติว่าเราตั้งค่าส่วนนี้ไว้เสร็จ ข้อความใดที่เข้าอีเมล์นี้ที่เราตั้งค่าไว้   Wordpress จะดึงมาเป็นโพสต์ในเว็บทันที แต่ส่วนใหญ่ผมจะไม่ได้ใช้  ผมชอบ login เข้าเว็บมาโพสต์เองซะมากกว่า ให้ข้ามไปขึ้นหัวข้อใหม่ได้เลย ถ้าไม่อยากรู้

 

wordpress settings โพสต์โดยอีเมล์

wordpress settings โพสต์โดยอีเมล์

สังเกตว่า อีเมล์ควรที่จะมีความปลอดภัย จากสแปม เพราะจำไว้เลยว่า  เมล์ฉบับไหนเข้ามาที่อีเมล์นี้ที่เราตั้งไว้แล้ว มันจะนำไปโพสต์อัตโนมัติที่ WordPress ของเรา  คิดดูถ้ามีสแปมเมล์เข้ามา  เว็บเราคงมีแต่ขยะทันที  เทียบเท่ากับเปิดประตูหลังบ้านไว้ให้คนเข้ามา  เมล์ที่ตั้งค่าไว้ควรเก็บไว้ที่ปลอดภัยหรือห้ามเอาไปโพสต์หรือใช้ที่ไหนอื่นอีกเลย ใช้แค่ wordpress นี้เท่านี้  ให้เราส่งเมล์เข้ามาได้แค่คนเดียว

 

  • Mail Server –  อันนี้เป็นลิงค์ของเมล์ server ของเรา เช่น ถ้าใช้ gmail ก็จะมีเมล์ server ชื่อว่า  pop.gmail.com  ใช้ Pop3 Protocol สำหรับอ่านอีเมล์จากเมล์จริงๆ
  • Port – Pop3 ปกติจะใช้พอร์ต 995 (อาจเป็นพอร์ตอื่น อันนี้ให้ลองค้นหาดูของอีเมล์ที่เราใช้
  • Login Name –  อันนี้ให้ใช้ email ของเราที่จะใช้ให้ wordpress วิ่งเข้าไปอ่านข้อความแล้วนำมาโพสต์ให้ ถ้าผมใช้เมล์ของ gmail ผมก็ใช้ [email protected] ประมาณนี้
  • Password – รหัสผ่านอีเมล์ของเรา  ของผมก็ใช้รหัสผ่าน gmail นั่นเอง
  • Default Mail Category – หมวดหมู่ปกติที่จะให้โพสต์ที่ถูกโพสต์จากเมล์ไปรวมกันที่หมวดหมู่ไหน เลือกเลย

 

ตัวหมวดหมู่ Uncategorized สามารถเปลี่ยนได้อยู่นะครับ  แต่ต้องไปสร้าง Category เพิ่มเองใน  Posts>Categories

 

เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วให้กดปุ่ม  Save Changes 

 

ขั้นตอนที่ 3 การตั้งค่าการอ่าน (Reading Settings)

การตั้งค่าการอ่านนี้  ทำได้โดยคลิ๊กที่เมนูด้านข้างซ้ายต่อไปนี้ ตามภาพ  Settings>Reading

wordpress ตั้งค่า

ตั้งค่า wordpress การอ่าน

 

การตั้งค่าการอ่านหมายถึงให้ผู้ชมเว็บเราดูเว็บ หรืออ่านเว็บเราแบบไหน  ดูภาพด้านล่างก่อนนะครับ

wordpress ตั้งค่าหน้าแรก

wordpress ตั้งค่าหน้าแรก

 

  • Front page displays – ใช้สำหรับ wordpress ตั้งค่าหน้าแรก,  การแสดงผลที่หน้าแรก หน้า index หรือหน้า www.yourdomain.com พิมพ์ url นี้เสร็จ นี้ล่ะหน้าแรกของเว็บ หน้าสารบัญของบทความ
  • Your latest posts – ถ้าติ๊กเลือกอันนี้ หมายถึงจะให้ WordPress แสดงเป็นรูปแบบรายการบทความเรียงๆกันลงมาเรื่อยๆ รูปแบบบล๊อก  สมมติคุณโพสต์ไปแล้ว 10 บทความ  มันจะเรียงกันเป็นลิสต์รายการ  จากใหม่ไปเก่า บนลงล่าง
  • A static page – หรืออถ้าคุณเลือกอันนี้หมายถึงในหน้าแรก index นี้ สารบัญเว็บนี้ ให้ไปดึงหน้าแบบคงที่มาแสดง (Static page)  อันนี้จะดีเพราะว่าเราสามารถปรับแต่งหน้าเว็บได้ตามใจเราต้องการ ให้เมนูอยู่ด้าน มีแถบเมนูด้านบน content เนื้อหาอยู่ตรงกลาง ค่อนข้างอิสระกว่า  ปัจจุบัน มี template แบบ premium มีเครื่องมือจัดการในส่วนนี้ให้ใช้งานได้ง่ายมาก  คุณสามารถปรับหน้าเว็บได้สวยดั่งใจเลย  ดูตรงตัวเลือกจะมีเพิ่มเติมคือ
    • Front Page  เราต้องเลือกหน้า Page ที่จะใช้แสดงผลในหน้า index นี้ (หน้านะไม่ใช่ โพสต์ wordpress จะมีตัวโพสต์บทความสองแบบคือ Post กับ Page)
    • Posts Page  ในหน้าต่อๆไป หรือหน้าอื่นๆที่ไม่ใ่ช่หน้า index จะให้ WordPress ใช้รูปแบบไหนมาแสดงผล

ย้ำอีกครั้งถ้าคุณเป็นคนที่ไม่ค่อยมีความรู้อะไรเลย ใช้ Theme ฟรีของ wordpress ตั้งค่าหน้าแรก ส่วนนี้คุณอาจจะเลือก แบบ Your latest Post ซึ่งง่ายสบายกว่าไม่ต้องปรับอะไร

แต่ถ้าคุณใช้ Theme Premium ที่ไปซื้อมา เขามีระบบจัดการให้  ซื้อเสร็จมีคู่มือติดตั้งอีกนะ  เราทำตามคู่มือติดตั้งไป ส่วนใหญ่ตอนนี้ตัว Theme มันจะมี Plugin ของ Theme เองที่ช่วยให้เราแค่ 1 คลิ๊ก config ธีม ปรับแต่งให้เสร็จเลย เราไม่ต้องมาปรับตรงส่วน A Static Page ให้ยุ่งยาก  (Premium Theme ส่วนใหญ่จะเลือกตรงนี้เป็น A Static Page  แต่จำไว้ว่าไม่ยุ่งยากเพราะเขามีเครื่องมือช่วยตั้งค่าแถมให้แล้ว)

เลื่อนลงมาต่ออีกนิดตามภาพ

wordpress ตั้งค่าการมองเห็นของ search engine

 

  • Blog pages show at most – สมมติเราเลือกเป็น Your latest Post ในหัวข้อที่แล้ว  หน้าแรกของเว็บเราจะแสดงเป็นรายการบทความไล่ลงมาเรื่อย ทีนี้จะให้มันแสดงกี่รายการต่อหนึ่งหน้า ถ้ากำหนด 10 ก็จะแสดงแค่ 10 รายการโพสต์ก
  • Syndication feeds show the most recent จำนวนบทความล่าสุดมากที่สุดกี่บทความที่จะแสดงใน RSS feed (RSS feed ของเว็บไซต์  คือ ลิงค์ๆหนึ่งที่มีบทความล่าสุดหรือฟีดล่าสุดจากเว็บเรา  ซึ่งคนอื่นสามารถดึงไปแสดงผลได้  ที่เห็นได้ชัดเจนคือ สมมติมีเว็บข่าว  เขาก็มี rss feed ที่ให้คนอื่นดึงข่าวไปแสดงผลที่หน้าเว็บตัวเองได้ พอคนดูเห็นข่าวเว็บเราในเว็บคนอื่นคลิ๊กลิงค์ก็จะถูกส่งมายังเว็บเรา สะดวกสบาย แต่ก่อนนิยมกันมาก เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยนิยมแล้ว) 
  • For each article in a feed, show – ลักษณะของเนื้อหาที่แสดงใน RSS feed
    • Full Text คือ แบบเต็มเลย เนื้อหาทั้งหมด
    • Summary คือ แสดงเฉพาะสรุปเนื้อหา
  • Search Engine Visibility – การตั้งค่าการมองเห็นสำหรับ Search Engine  
    • ถ้าติ๊กถูก  หมายถึง  ห้าม Search Engine มาเก็บข้อมูลในเว็บเรา  ดังนั้นเว็บเราจะไม่มีวันมีคนค้นหาเราเจอจาก Google  อันนี้สำคัญมาก  (ถ้าจะใช้มักใช้ในโอกาสที่เว็บเรากำลังก่อสร้างอยู่ ยังไม่เสร็จดี  อยากเปิดตัวทีเดียวให้มันดูดีไปเลย เหมือนแต่งร้านเสร็จค่อยเปิด   แต่โดยส่วนใหญ่แล้วสำหรับผมๆจะทำไปแล้วเปิดไปเลย ให้ google มาเก็บข้อมูลไปเลย  เพราะการที่ google เก็บข้อมูลก่อนตอนนี้  กว่าข้อมูลจะถูกนำไปแสดงผลหน้าแรกก็อีกประมาณ 3 เดือน ถ้าเราช้าก็ต้องรอไปอีกนาน  เดี๋ยวผมจะมาว่ากันอีกในเรื่องของ SEO ในภายหลังนะครับ การทำ Ranking บน Google)

* สีแดง  ไม่สำคัญ ข้ามๆไปได้เลย

เมื่อปรับค่าเสร็จแล้ว  ก็คลิ๊กที่  Save Changes  ได้เลย  เพื่อบันทึก

 

ขั้นตอนที่ 4 การตั้งค่าการโต้ตอบ (Discussion Settings)

ส่วนนี้ขอเรียกว่าเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ระบบคอมเม้น (Comment)  ดูที่เมนูฝั่งซ้ายมือ  คลิ๊กไปที่  Settings>Discussion. ตามภาพ

wordpress ตั้งค่า

ตั้งค่า wordpress การโต้ตอบ

 

การตั้งค่าโต้ตอบนี้ เป็นการตั้งค่าระบบแจ้งเตือนบนเว็บของเรา  และก็พวกรูปภาพ Avatar หรือเรียกว่ารูปภาพส่วนตัวเวลาที่มีคนมาเม้นมันก็จะโชว์รูปมาหน้าคอมเม้นด้วย  ตั้งค่าระบบกรองคำหยาบไม่ให้แสดงที่คอมเม้น  ประมาณนี้  มาดูกันเลย

  • Other comment settings –  การตั้งค่าส่วนนี้ช่วยให้คุณพิจารณาคอมเม้นก่อนแสดงผล เหตุผลด้านความปลอดภัยในเว็บไซต์เรา
    • ถ้าติ๊กถูกที่หน้า  Comment author must fill out name and e-mail หมายถึง คนที่มาคอมเม้นในเว็บจะต้องเติมชื่อและอีเมล์ด้วย ถึงจะเม้นได้
    • ถ้าติ๊กถูกที่หน้า Users must be registered and logged in to comment  อันนี้หมายความว่าคนที่จะเม้นได้ต้องลงทะเบียนก่อนแล้วก็ล๊อกอินในเว็บเราด้วย ถึงจะเม้นได้

ถ้าติ๊กทั้งสองช่องเลย  ก็หมายความว่าคุณจะต้องล๊อกอินก่อน ถึงจะเม้นได้    ไม่ต้องกรอกชื่อและอีเมล์อีก  มีค่าเท่ากับติ๊กอันที่สองอย่างเดียว

สำหรับการตั้งค่าด้านบนนี้เพื่อให้เราแน่ใจว่าคนที่มาเขียนคอมเม้นเป็นคนจริงๆ ไม่ใช่สแปม หรือ บอท  แต่ถ้าคุณปล่อยให้ 2 อ๊อปชั่นี้ว่างไว้ไม่ได้ติ๊กถูก   หมายถึงว่าใครก็ตามที่เข้ามาในเว็บรวมถึงบอทด้วยสามารถเม้นได้ทันทีในโพสต์ของเรา

มาดูส่วนถัดมา

  • Before a comment appears – ส่วนนี้เป็นการตั้งค่าว่า เมื่อไรที่คอมเม้นจะปรากฎ แสดงให้คนทั่วไปเห็น
    • ถ้าติ๊กถูกหน้า Comment must be manually approved  หมายความว่า  เมื่อมีคนมาเม้นแล้ว มันจะไม่แสดงผลในทันที  ข้อความจะปรากฎอยู่ในแผงควบคุมของเรา  ที่หน้า Dashboard (หน้าแรกหลังจากเราล๊อกอินเสร็จ)  เรามีสิทธิ์เลือกว่าจะ Approve ข้อความนี้มั้ย หรือลบทิ้งหรือจะบอกว่านี่เป็นสแปมก็ได้
    • ถ้าติ๊กถูกที่หน้า Comment author must have a previously approved comment  หมายความว่า ถ้าคนที่มาเม้นมาก่อน approve แล้ว จะอนุมัติให้แสดงผลได้ทันทีเลย

  • Comment Moderation and Comment Blacklist ส่วนนี้เอาไว้ใส่ข้อมูลแบล๊คลิสต์ เงื่อนไขของคนที่ไม่สามารถเม้นได้ในเว็บเรา   โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะไม่สามารถใส่ช่องนี้ได้ทันที  เพราะเราจะต้องมีข้อมูลก่อนเช่น คนชื่ออะไร ,  ip อะไร, เนื้อหาที่ต้องห้าม, คำที่ต้องห้าม เป็นต้น  คือเราจะต้องมีข้อมูลในส่วนนี้ให้เรียบร้อยก่อน  แต่สำหรับมือใหม่ก็คงใช้งานในส่วนนี้ไม่เป็นแน่นอน   ดังนั้นให้ข้ามไปไม่ต้องสนใจ

* สีแดง ไม่ต้องสนใจ

การตั้งค่า Avatar อันนี้ก็ไม่ได้สำคัญอะไรมาก  แค่เป็นรูปภาพ Avatar แทนผู้เยี่ยมชมที่มาเม้น  กำหนด Rating เหมือนในทีวี  เนื้อหานี้เหมาะกับใคร  จริงๆอันนี้ก็ใช้ไม่ค่อยได้เท่าไร  ดูตามภาพด้านล่างเลย

ตั้งค่า Avatar บน WordPress

 

  • Avatar Display – จะให้แสดงภาพ Avatar แทนผู้ใช้งานทั่วไปมั้ย  ถ้าใช่ ก็ติ๊กถูก
  • Maximum Rate –  อันนี้ก็แค่กำหนดว่าเว็บไซต์เราเหมาะกับ Rate ไหน  ไม่ค่อยได้ผลเท่าไร  ถ้าคนมันจะเข้าก็เข้าได้อยู่ได้ ให้ปล่อยผ่านไปเลย
  • Default Avatar – อันนี้เวลาคนมาเม้นแล้ว อยากให้มันแสดงภาพ Avatar แทนรูปคนแบบไหน เป็นภาพเซตไหน ลองเลือกดู

เมื่อเลือกตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยทุกอย่างแล้วกด  Save Changes 

 

ขั้นตอนที่ 5 การตั้งค่ามีเดีย (Media Settings)

ในส่วนนี้จะอธิบายถึง มีเดีย  มีเดีย หมายถึงพวกรูปภาพที่ใช้ในเว็บไซต์ของเรานั่นเอง  ก่อนอื่นไปที่  Settings > Media.

wordpress ตั้งค่า

ตั้งค่า wordpress ตั้งค่ามีเดีย

 

ถัดมาเมื่อกดเข้ามาแล้ว  จะพบกับหน้าต่อไปนี้  ซึ่งมีให้ตั้งค่าด้วยหลายอย่างเลยส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับขนาดภาพ ที่ใช้ในส่วนต่างๆ

ตั้งค่าขนาดรูปภาพ media

  • Thumbnail Size  เป็นขนาดภาพที่เป็นขนาดเท่าหัวแม่มือ   ส่วนใหญ่จะใช้เป็นภาพปกก่อนเข้าไปอ่านบทความเพื่อดึงดูดคนให้กดลิงค์  ถ้าสังเกตในหน้าแรกของ riwwee.com จะมี ภาพขนาด thumbnail เพียบเลย  ส่วนใหญ่แล้วเขาจะให้มีขนาด  150 x 150 นี่ล่ะ ไม่ต้องปรับก็ได้  อย่าลืมติ๊กถูก หน้าคำว่า Crop thumbnail to exact dimension
  • Medium Size ภาพขนาดกลาง  ขนาดกว้างมากสุด กับสูงมากสุด  300 x 300
  • Large Size  ภาพขนาดใหญ่   ขนาดกว้างมากสุด กับสูงมากสุด 1024 x 1024

ถ้าไม่อะไรก็ปล่อยผ่านได้เลยหัวข้อนี้  ผมก็ไม่ค่อยได้ปรับ  ส่วนใหญ่แล้วเวลาเราติดตั้ง theme มันจะมีการกำหนดอัตราส่วนภาพให้อยู่แล้วให้เหมาะสมกับ Theme จะมีชุดโปรแกรมคอยจัดการแสดงผลให้เหมาะสมอีกทีหนึ่ง  

จัดเรียงรูปภาพลงใน folder อัตโนมัติ อิงตามวันที่

  • ติ๊กถูกหน้า Organize my uploads into month- and year- based folder  อันนี้ให้เลือกไว้  เวลาเราอัพโหลดรูป  เช่นผมอัพโหลดภาพตัวอักษร A ชื่อ  1.png เข้าเว็บ วันนี้  วันต่อมาผมอยากจะอัพโหลดภาพตัวอักษร B ชื่อ 1.png ก็สามารถทำได้  เพราะรูปภาพถูกบรรจุอยู่ในระบบ folder แยกวันกัน    แบบนี้  root/today/1.png  และอีกภาพ root/tomorrow/1.png    แต่ถ้าผมไม่ได้ติ๊กล่ะจะเกิดอะไรขึ้นกับการอัพโหลดรูปภาพชื่อเดียวกันเข้ามาในเว็บ ก็คือ ภาพตัวอักษร B จะไปแทนที่ภาพตัวอักษร A แสดงว่าภาพ A ได้หายไป  ที่เป็นแบบนี้เพราะมี folder เดียว  เก็บไว้ใน folder เดียวมันจะทับกันได้ง่าย  เป็นต้น

ถ้าคิดว่าปรับเรียบร้อยแล้วก็กด  Save Changes  เพื่อบันทึก

 

ขั้นตอนที่ 6 การตั้งค่ารูปแบบลิงค์บนเว็บไซต์ (Permalinks Settings)

หัวข้อสุดท้ายสักที เขียนมาเมื่อยมาก ขอบอก ฮ่าๆ  ป่ะๆ กดไปตามเส้นทางนี้ Settings>Permalinks  ดังรูปด้านล่างเลย

wordpress ตั้งค่า

wordpress ตั้งค่า permalinks

 

เมื่อเข้ามาแล้ว  จะพบกับรูปแบบลิงค์ของเว็บไซต์  เราอยากให้ลิงค์ในเว็บเราเป็นแบบไหน เลือกเลย ตามภาพ

wordpress ตั้งค่า permalinks

wordpress ตั้งค่า permalinks

 

แต่สำหรับผมนะครับผมชอบ แบบ Post name มากที่สุด  เพราะมีผลต่อการทำอันดับบน Google ด้วย แนะนำให้เลือก Post Name เลยครับ

เมื่อเลือกเสร็จแล้วให้กด  Save Changes 

 

ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยสำหรับการสอนการตั้งค่า WordPress แบบละเอียดจริงๆ ถ้าชอบก็กดแชร์บทความเราได้ หรือจะเม้นให้กำลังใจผู้เขียนก็ได้ ขอบคุณมากครับ 🙂


เช่าพื้นที่ทำเว็บ fastcomet เพื่อทำเว็บไซต์ของตัวเอง ลดทันที 15% คลิ๊กเลย

3 Replies to “ตั้งค่า WordPress – เรียนรู้ละเอียดทุกส่วนในเมนู Setting WP (ทบทวน)”

  1. Napath says:

    พี่ครับมีบทความที่สอน http เป็น https ไหมครับ

    เว็ปผมตั้งค่าตั้งแต่เเรกตามที่บอกมาทั้งหมดเลยครับ

    จนตอนนี้อยากเปลี่ยนเป็น https แล้วต้องทำยังไงบ้างอ่าครับ

    คือเบื้องต้นผมลองแก้ ตามเว็ปทั่วไปคือ cPanel > Let’s Encrypt™ SSL > กด Issue ที่เว็ปไซต์ที่ต้องการเปลี่ยน > หลังจากนั้นผมก็มาแก้ URL ที่ WordPress เเล้ว แต่ก็ยังไม่ขึ้นเป็นรูปแม่กุญแจอ่าครับ ต้องทำยังไงบ้างอ่า

  2. Pok says:

    ขอบคุณข้อมูลดีๆนะคะ ทำเว็บเป็นบ้างเพราะที่นี่เลยค่ะ
    ตอนนี้เว็บเปิดมาได้เป็นปีแล้ว แต่ก็ยังมีอะไรต้องแก้ไขอีกเยอะ แต่ยังไม่มีเวลาจริงจังเลย
    จะเข้ามาศึกษาและแชร์ให้เรื่อยๆนะคะ

    1. ดีใจที่ได้ยินเช่นนี้ครับ สู้ๆนะครับ 🙂

Leave a Reply

scroll to top