สร้างหน้าเว็บแบบคงที่ใน WordPress – Add Page

wp add page

สร้างหน้าเว็บแบบคงที่ใน WordPress – Add Page

สวัสดีครับ บทความนี้เราจะมาศึกษาเกี่ยวกับการสร้างหน้าเว็บในเว็บของเรา  หน้าเว็บคืออะไร ก็คือหน้าที่มีเนื้อหาบทความที่เราต้องการเขียนนั่นล่ะครับ  คิดว่าหลายๆ คนอาจจะรอบทความนี้อยู่นาน  กว่าจะถึงขั้นตอนการสร้างหน้าเว็บไซต์ของตัวเองนี่นานจังเลย  ต้องผ่านด่านตั้งหลายด่าน  เดี๋ยวมาทบทวนกันหน่อยว่าจำได้ไหมว่า

Post กับ Page ต่างกันยังไง 

  • หน้า Post คือ หน้าบทความหลักของเว็บไซต์  หลังจากตั้งเว็บไซต์เสร็จ  ส่วนใหญ่เราจะใช้เวลากับการสร้าง Post นี่ล่ะครับ  บทความเนื้อหาอะไรที่เราอยากตีพิมพ์  หัวข้อข่าว  รีวิวสินค้า  บทความให้ความรู้เราจะจับใส่ไปใน Post ได้เลย  เพราะฟีเจอร์ของโพสต์จะมีมากกว่า Page
  • หน้า Page  คือ  หน้าบทความครั้งแรก บทความคงที่  ที่เราคิดว่าจะเขียนแค่รอบเดียว  อาจจะไม่มีการปรับปรุงอีก  เช่น  หน้า About Us  เกี่ยวกับเรา    ติดต่อเรา   ที่อยู่เว็บไซต์   แผนที่บริษัท  ระเบียบข้อตกลง ประมาณนี้  บทความประเภทนี้เราจะนำมาใส่เป็นประเภท Page  พอเข้าใจเนาะ

ดังนั้นในตอนเริ่มต้นของการสร้างเว็บนอกจากจะทำการตกแต่งเว็บแล้ว  ก็ควรที่จะสร้างเนื้อหาคงที่ไว้ด้วยให้เสร็จเรียบร้อย  ทีนี้มาดูวิธีการใช้งานกันเลย

บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ riwwee.com แต่เพียงผู้เดียว ห้ามก๊อปปี้ หรือทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตครับ

สารบัญ

  1. เริ่มต้นเข้าสู่แผงควบคุมเว็บ
  2. อธิบายส่วนต่างๆในรายการ Page
  3. การเพิ่มบทความ Add New

เริ่มต้นเรียนรู้วิธีสร้างเว็บด้วยตนเอง อย่างละเอียดทุกขั้นตอน ได้จากบทความนี้

 

เช่าพื้นที่ทำเว็บ fastcomet เพื่อทำเว็บไซต์ wordpress ของตัวเอง ลดทันที 15% คลิ๊กเลย

เริ่มต้นเข้าสู่แผงควบคุมเว็บ

ก่อนอื่นเมื่อเข้ามาในเว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว ให้เราเข้าไปที่ www.yourwebsite.com/wp-admin  ตามเดิม  อย่าลืมเปลี่ยน yourwebsite เป็นเว็บไซต์ของเราเองล่ะ  หลังจากนั้นให้ทำ Login ด้วย Username และ Password  ต่อมา จะถูกเข้าไปที่หน้าแผงควบคุมของเว็บไซต์  และให้เราคลิ๊กตามรูปเลยครับ

การสร้าง page wordpress

การสร้าง page wordpress

จากรูปด้านบน 

  • All Pages นั่นคือ  แสดงรายการ Page ทั้งหมดในเว็บไซต์ที่เรามี  ตอนนี้มีแค่บทความตัวอย่างหนึ่งบทความ
  • Add Pages คือ ปุ่มสำหรับเพิ่มบทความ

 

อธิบายส่วนต่างๆในรายการ Page

สำหรับ  ตำแหน่งหมายเลข 1 คือ Bulk Actions แปลเป็นไทยว่าทำทีละเยอะๆ    เราอาจจะเลือกรายการบทความใน ตำแหน่งที่ 2 แล้วก็มาเลือก Bulk Actions ในตำแหน่งที่ 1 แล้วก็กด Apply เพื่อนำการกระทำที่เลือกใน Bulk Acctions ไปใช้งาน

Bulk Actions มีให้เลือก 2 คำสั่งเท่านั้นคือ  Edit กับ Move To Trash  หมายความว่าถ้าเรามีบทความเยอะๆในตำแหน่งที่ 2 แล้วเราไม่ต้องการมันแล้ว  เราอาจจะติ๊กเลือกในตำแหน่งที่ 2 หน้าบทความที่เราไม่ต้องการแล้วก็มาเลือก  Move To Trash แล้วกด Apply หลังจากนั้น WordPress จะทำการนำบทความเราไปทิ้งในถังขยะ  แต่มันยังไม่ได้ถูกลบออกจากเว็บจริงๆนะครับ  แค่มาร์คว่าหายไป  เราสามารถเปลียนใจกู้มันกลับมาคืนได้  เรียกว่า Restore 

ส่วนต่างๆในหน้าแสดงรายการ Pages

ส่วนต่างๆในหน้าแสดงรายการ Pages

ตำแหน่งที่ 2 จะแสดงรายชื่อบทความ  และก็ชื่อผู้เขียน  และวันที่ทำการเผยแพร่ เท่านี้เองครับง่ายๆ

ลูกศรชี้ตำแหน่งที่ 3  คือปุ่มสำหรับเพิ่มบทความประเภท Page ขึ้นมาใหม่

 

การเพิ่มบทความ  Add New

เริ่มต้น คลิ๊กที่ Add New ตามรูปด้านล่าง

เพิ่ม page ใหม่ wordpress

เพิ่ม page ใหม่ wordpress

หลังจากนั้น WordPress จะเปิดหน้าสำหรับพิมพ์ขึ้นมาดังนี้

รายละเอียดของหน้าสำหรับเพิ่ม Page ใน WordPress

รายละเอียดของหน้าสำหรับเพิ่ม Page ใน WordPress

ตามภาพด้านบนนั้น  เป็นฟังก์ชั่นพื้นฐานสุดๆของ WordPress ที่มีมาให้เลยล่ะ  ดังนั้นถ้าเราอยากที่จะมีฟีเจอร์เพิ่มเติม อยากมี editor ที่ใช้งานได้มากกว่านี้ก็ไปติดตั้ง Plugin สิ  แนะนำปลั๊กอิน  TinyMCE Advance ลองไปค้นหาดูใน WordPress Plugin แล้วลองติดตั้งดู ฟีเจอร์เครื่องมือช่วยพิมพ์  น้องๆ โปรแกรม Word เลย   ติดตั้ง plugin wordpress ไม่เป็นดูที่นี่ครับ

คำอธิบายส่วนต่างๆ

  • Enter Title Here  ให้คุณใส่ชื่อบทความลงไป เช่น About Us หรือ ติดต่อเรา  ก็ได้ครับ
  • Add Media ใช้เพื่อเพิ่มรูปภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ และก็ใช้ในการเลือกรูปภาพเพื่อแทรกในกล่องข้อความ
  • กล่อง สี่เหลี่ยมด้านล่าง จะเป็นกล่องสำหรับพิมพ์  เรียกว่า Editor สำหรับพิมพ์เนื้อหาบทความก็ได้ครับ
  • Save Draft  ถ้าคิดว่าพิมพ์ไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จ  ต้องการออกไปข้างนอกก่อน ก็ Save Draft ไว้ก่อนเป็นฉบับร่าง มันจะยังไม่เผยแพร่ในหน้าเว็บของเรา  ปกติ WordPress จะ Auto Save ให้เราเรื่อยๆ อยู่แล้ว  แต่จำไว้ว่าทุกครั้งที่คิดว่างานเสร็จถึงระดับหนึ่งให้กด Save Draft เอาไว้  เพราะไม่แน่ไม่นอน  เซฟเองนั่นดีที่สุด
  • Preview  เป็นปุ่มสำหรับกดดูตัวอย่างที่บทความเราจะปรากฎบนหน้าเว็บ
  • Status แสดงสถานะของบทความ ว่าเป็น Draft หรือ Pending Review หรือ Published เผยแพร่แล้ว  ถ้าบทความเราเผยแพร่แล้ว  เราสามารถเลือกให้มันกลับมาเป็น Draft ไว้ได้ จากตรงนี้ แบบว่าไม่อยากเผยแพร่ก็สามารถเลือก Edit แก้ไขได้ภายหลัง
  • Visibility  รูปแบบการมองเห็น ถ้า ตั้ง Public ไว้คือ เห็นได้ทุกคน  หรือจะเป็น Password Proteced หรือจะตั้งเป็น Private เก็บไว้อ่านคนเดียวก็ได้
  • Publish  Immediately ถ้าเลือกแบบ Imediately เมื่อกด ปุ่ม Publish มันจะเผยแพร่ทันที  แต่ถ้ากดปุ่ม Edit มันจะให้เลือกวันและเวลาที่จะให้บทความเริ่มเผยแพร่  ตั้งเวลาไว้ได้เจ๋งมั้ย เผื่อเราเขียนๆบทความไว้เยอะๆ แล้วตั้งเวลาให้มันเผยแพร่  วันที่เรากำหนดก็ได้  เช่นบทความมีหลายตอนให้ผู้ชมติดตามทุกวันศุกร์  ก็ตั้งเวลาเผยแพร่ไว้วันศุกร์  เป็นต้น
  • ปุ่ม  Publish   เอาไว้กดเพื่อรัน ให้ wordpress เผยแพร่บทความให้เรา  อยากเผยแพร่ตอนไหนให้กดเลย  ถ้ายังไม่พร้อมก็กด  Save Draft ไว้ก่อน
  • Page Attribute  ผมไม่ค่อยได้ปรับเท่าไรแต่ถ้าอยากปรับก็ดูตามนี้ครับ
    • Parent หมายถึงบทความหลักมีมั้ย  ถ้าไม่มีให้ใส่ (no parent) ไป  ส่วนใหญ่ให้เลือกอันนี้เลย  แต่ถ้าเราอยากบอกว่าบทความนี้เป็นบทความลูก หรือบทความต่อจากบทความหลัก ให้คลิ๊กเลือก ชื่อบทความนั้นๆไปเลย
    • Template หมายถึง  โครงสร้างบทความน่ะมีมัย  ถ้าใช้อันปกติ ก็เลือก Default เลย  บางคนอาจจะไม่ชอบรูปแบบการแสดงแบบปกติ  อาจจะให้มันเป็นบทความยาวเต็มหน้าเลยก็มี  ให้เลือก
      • Full Width Template  เพื่อให้บทความเราแสดงกว้างเต็มหน้าเว็บ
      • Page Builder Blank
      • Page Builder Full Width
      • Page With Slider  ผมแนะนำให้ลองเลือกดูว่าเราชอบมันม้ย  ตรงส่วนนี้ขึ้นอยู่กับว่า Theme ที่เราเลือกใช้ สนับสนุนมั้ยด้วย  ลองเลือกดูครับ  ถ้ามันใช้ไม่ได้ มันก็จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเวลาเรากด Preview ดู
    • Order ไม่ต้องปรับอะไรครับปล่อยไว้แบบเดิมเลย
  • Featured Image  คือ ภาพที่ใช้แสดงเป็นปกของบทความ   เวลาเราไปดูบทความในเว็บอื่นๆ ก็มักจะมีปกบทความเป็นภาพ เพื่อเรียกความสนใจให้คนคลิ๊กเข้ามาอ่าน  จำเป็นมากครับ  ดังนั้น ถ้าทำบทความแล้ว ก็ควรหาภาพมาด้วยจะดีมาก
  • Layout ก็คล้ายๆกับ Page Attribute เลือก Default เลยก็ได้  หรือจะเลือก
    • Full Width  สำหรับแสดงผลเต็ม
    • Left Side Bar แสดงเมนูทางฝั่งซ้ายมือ
    • Right Side Bar แสดงเมนูทางฝั่งขวามือ

ทีนี้ให้ลองเขียนบทความดู  ตามภาพครับ

เผยแพร่บทความ Page ของ WordPress ครั้งแรก

เผยแพร่บทความ Page ของ WordPress ครั้งแรก

เสร็จแล้วเรียบร้อย  จะขึ้นข้อความด้านบนสุดว่า  Page Published  หมายถึงเผยแพร่แล้วนะ  พร้อมมีลิงค์ของบทความปรากฎด้วย  ถ้าเราคิดว่าลิงค์ไม่สวย ก็อาจจะกดปุ่มแก้ไขตามลูกศรชี้  กดเข้าไปแก้เป็นคำพูดอื่นได้เลยที่เราคิดว่าโอเค

เพิ่ม wordpress page

 

สำหรับบทความนี้จบแล้วล่ะ  ง่ายๆใช่มั้ยสำหรับ Page  พบกันใหม่บทความหน้าครับ

 

เช่าพื้นที่ทำเว็บ fastcomet เพื่อทำเว็บไซต์ wordpress ของตัวเอง ลดทันที 15% คลิ๊กเลย

 

บทความถัดไป (Up Next)

การสร้างหน้าเนื้อหาแบบ Post ใน WordPress 

 

Leave a Reply

scroll to top