การสร้างหน้าเนื้อหาแบบ Post ใน WordPress
มาต่อกันที่หัวข้อถัดมาได้เลยครับ ในเนื้อหาบทความนี้จะกล่าวถึงการสร้างเนื้อหาแแบบ Post ถ้าใครทดลองการสร้างเนื้อหาแบบ Page ในบทความที่แล้วมาแล้ว จะเข้าใจบทความนี้ง่ายๆเลย คล้ายกันมากๆ เมื่อได้ทดลองทำตาม และก็จบบทความนี้แล้วผมคิดว่าทุกคนที่ตั้งใจอ่านมาตั้งแต่บทความการสร้างเว็บไซต์ด้วยตนเอง ตั้งแต่บทความแรกของผมมา จะเริ่มเข้าใจและประยุกต์ต่อไปได้ครับ
อัพเดตล่าสุดวันที่ 11 มิถุนายน 2561
บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ riwwee.com แต่เพียงผู้เดียว ห้ามก๊อปปี้ หรือทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตครับ |
เช่าพื้นที่ทำเว็บ fastcomet เพื่อทำเว็บไซต์ wordpress ของตัวเอง ลดทันที 15% คลิ๊กเลย
เริ่มต้นจากการล๊อกอินเข้าสู่ระบบเหมือนเดิมที่แล้วๆมา และมองไปที่แถบเครื่องมือด้านซ้าย ให้คลิ๊กที่ Posts และต่อด้วย All Post จะพบกับหน้าจอแบบนี้ครับ
ทีนี้สำหรับคนที่อ่านบทความเกี่ยวกับ Page มาก่อนหน้า จะพบว่า เฮ้ยมันเหมือนกันเด๊ะๆเลยนะเนี่ย หน้าจอ แนะนำให้ลองย้อนไปอ่านดูได้ ที่นี่ครับ ถ้าใครคิดว่ายังไม่เคยอ่าน เมื่ออ่านจบแล้วก็มาอ่านบทความนี้ต่อได้เลยครับมันจะต่อเนื่องกัน
ตามภาพ หมายเลข 1 คือ ตำแหน่งแสดงรายการบทความ เราสามารถคลิ๊กที่บทความเพื่อแก้ไข ดู ลบทิ้งก็ได้ เรียกว่าเป็นตำแหน่งแสดงบทความทั้งหมดที่เรามีเลยก็ได้
หมายเลข 2 เป็นปุ่มสำหรับ Add New หรือเพิ่มบทความประเภท Post ใหม่เข้าไป ลองกดดูครับที่ Add New จะพบกับหน้าจอแบบนี้ครับ
พบว่าเหมือนกับหน้า Page เป๊ะเลยครับ เว้นแต่ ในกรอบสี่เหลี่ยมที่ผมได้ตีไว้หมายเลข 1 และ 2 ตามภาพด้านบน ที่บทความประเภท Post จะมีเพิ่มเติมเข้ามา หมายเลข 1 คือ Category ส่วนหมายเลข 2 คือ Tags เดี๋ยวผมจะอธิบายให้ฟังว่ามันเป็นยังไง เลื่อนอ่านต่อได้เลยครับด่านล่านี้
Categories
ความสามารถของบทความประเภท Post นั้นก็คือ สามารถแยกหมวดหมู่ จัดหมวดหมู่ได้ (Categories) เช่น เว็บเราอาจจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับเครื่องสำอาง เราอาจจะมีบทความรีวิวเครื่องสำอางแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามแคตากอรี่ ลิปสติก แป้ง ครีม บีบี เป็นต้น ก็แล้วแต่เราจะจัดหมวดหมู่ได้เลย มันมีประโยชน์มากๆครับ บทความประเภทเดียวกันอยู่ด้วยกัน เวลาคนอ่านคลิ๊กมาดูก็จะพบกับบทความคล้ายๆกันในเรื่องเดียวกัน
Tags
คือ กลุ่มคำที่เป็น keyword เช่น
- สมมติบทความที่ 1 ผมเขียนถึงเฮลิคอปเตอร์บังคับวิทยุ มีหมวดหมู่เป็นของเล่น แต่มี tag เป็น บังคับวิทยุ
- บทความที่ 2 ผมเขียนถึงโดรน dji ซึ่งบังคับวิทยุเหมือนกัน มีหมวดหมู่เป็นโดรน แต่มี tag เป็น บังคับวิทยุ
นั่นหมายความว่าถ้ามีคนคลิ๊กที่ tag บังคับวิทยุ ก็จะพบกับบทความทั้งสองบทความของผมเลย แต่ถ้าคลิ๊กที่หมวดหมู่ของเล่น ก็จะพบแค่บทความที่หนึ่ง ในทางกลับกัน ถ้าคลิ๊กแค่หมวดหมู่โดรน ก็จะพบแค่บทความที่สอง เป็นต้น
ส่วนใหญ่แล้ว tag เวลาผมเขียนบทความเสร็จ ผมจะใช้เพื่อใส่ keyword ที่ผมคิดว่าเกี่ยวข้องลงไป ให้ครบ เช่น บทความนี้ของผมเกี่ยวกับ การสร้าง Post ใน WordPress สำหรับ tag ผมอาจจะใส่คำว่า wordpress post, post wordpress, สอน wordpress, สร้าง post wordpress ฯลฯ ลงไป เพื่อหวังผลให้ google ซึ่งเป็น search engine เข้าใจด้วยว่าบทความของเรากำลังเกี่ยวข้องกับเรื่องๆนี้ เวลา google จัดอันดับเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหาที่เราเพิ่มไปใน tag จะได้แสดงผลเว็บเราไปในผลการค้นหาด้วย
ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าใครเล่น Instagram มาก่อน หรือ Facebook อาจจะคุ้นเคยระบบ hashtags ผมว่ามันก็คล้ายๆ กันนั่นล่ะ
ทีนี้ผมทดลองใส่หัวข้อ และใส่เนื้อหา และใส่ Tags ของบทความไปด้วย ตามภาพด้านล่างนี้
หลังจากนั้นกด Publish เผยแพร่ตอนนี้เลยลองดูครับ เมื่อ publish เสร็จปุ่มจะเปลี่ยนเป็น Update ตามภาพด้านล่างหมายเลข 1
ส่วนเมื่อกด Publish หรือเผยแพร่แล้วบทความที่ได้จะไปอยู่ในหน้าเว็บตรงไหน ให้ดูที่ลิงค์หมายเลข 2 นั่นเป็นลิงค์ของบทความ เราสามารถคลิ๊ก Edit เพื่อแก้ไขลิงค์ให้เป็นอย่างที่เราต้องการก็ได้นะ ลองกดดูก็ได้ http://shofferme.com/2018/06/11/ทดสอบบทความแรก
แต่ในบทความนี้ผมยังไม่ได้เพิ่มหมวดหมู่ให้กับบทความดังนั้นเราจะมาลองกดใส่หมวดหมู่ให้บทความดูครับ มองไปที่ด้านขวามือครับตามภาพ
ติ๊กถูกเข้าไปตามภาพเลยครับ คำว่า Uncategorized คือ ไม่มีหมวดหมู่ ถ้าบทความไหนไม่มีหมวดหมู่ เราไม่ได้เพิ่มไว้ มันจะถูกจับมาลงในหมวดหมู่นี้โดยอัตโนมัติ ส่วนถ้าใครอยากเพิ่มหมวดหมู่เองให้คลิ๊ก Add new Category
หลังจากนั้นมันจะปรากฎ Text Box ขึ้นมาให้เรากรอกชื่อหมวดหมู่ ผมก็พิมพ์ไปว่า “หมวดหมู่ทดสอบ” ถ้ามีหมวดหมู่หลักที่สร้างไว้แล้วคิดว่าจะให้หมวดหมู่ที่เราสร้างเข้ามาใหม่นี้ เป็นหมวดหมู่ย่อย ก็ให้เลือก Parent Category หรือหมวดหมู่หลักที่เราจะนำหมวดหมู่นี้ไปผูกไว้ได้เลย แต่ถ้าไม่มีหมวดหมู่หลักก็ทิ้งไว้แบบนั้นไม่ต้องเลือก หลังจากนั้นกด Add New Category ก็จะเป็นอันเสร็จการเพิ่มหมวดหมู่
หลังจากนั้น WordPress จะปรากฎหน้าแบบนี้ ให้ดูที่กรอบสี่เหลี่ยม เลือกเอาเฉพาะหมวดหมู่ที่จะให้บทความล่าสุดนี้ ถูกนำไปบรรจุลงไป เมื่อเลือกได้แล้วก็กดปุ่มสีฟ้าๆ Update
เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อยสำหรับการเพิ่มบทความประเภท Post และพบกันใหม่ตอนหน้าครับ 🙂
เช่าพื้นที่ทำเว็บ fastcomet เพื่อทำเว็บไซต์ wordpress ของตัวเอง ลดทันที 15% คลิ๊กเลย
บทความถัดไป (Up Next)
วิธีการ สร้างเมนู wordpress สร้างเองได้ไม่ยาก