WordPress Category – วิธีการจัดการหมวดหมู่ภายในเว็บ


WordPress Category – วิธีการจัดการหมวดหมู่ภายในเว็บ

หมวดหมู่ใน WordPress ถูกใช้ในการจัดการแยกโพสต์ หรือเป็นการแยกเนื้อหาออกจากกันให้อยู่รวมกันเป็นหมวดหมู่  กลุ่มของเนื้อหาคล้ายๆกันก็จะอยู่หมวดเดียวกัน  ในบทเรียนนี้ผมจะมาอธิบายวิธีการสร้าง แก้ไข และลบหมวดหมู่กัน ใน WordPress Category

กลับสู่บทความหลัก การสร้างเว็บด้วยตนเอง คลิ๊กที่นี่  ผมได้รวบรวมสารบัญของการสร้างเว็บไว้ทุกหัวข้อ สามารถอ่านไล่ลงมาเรื่อยๆได้เลยทีละลิงค์ 

 

บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ riwwee.com แต่เพียงผู้เดียว ห้ามก๊อปปี้ หรือทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตครับ

เช่าพื้นที่ทำเว็บ fastcomet เพื่อทำเว็บไซต์ของตัวเอง ลดทันที 15% คลิ๊กเลย


เพื่อที่จะเข้าถึงระบบจัดการหมวดหมู่ใน WordPress เราจะต้องล๊อกอินเข้าระบบเว็บของเราก่อน  เมื่อล๊อกอินเสร็จ คุณมองไปด้านซ้ายหาเมนูตามภาพด้านล่างนี้  Posts>Categories.

wordpress category

เข้าสู่ระบบจัดการหมวดหมู่ wordpress category

เมื่อคุณคลิ๊กแล้ว จะถูกส่งไปยังหน้าที่ใช้ในการบริหารจัดการหมวดหมู่นั่นเอง    ในหน้านี้มันจะแยกออกเป็นสองคอลัมน์   

  • ฝั่งซ้าย – โดยในฝั่งซ้ายมือจะเป็นการเพิ่มหมวดหมู่ (Category) และ
  • ฝั่งขวา – ส่วนขวามือจะแสดงหมวดหมู่ที่มีอยู่แล้วที่เราเพิ่มเอาไว้แล้ว

 

มาดูฝั่งซ้ายกันก่อน

wordpress category

ฝั่งซ้ายของหน้า – สำหรับเพิ่มหมวดหมู่

  • Name – หมายถึงชื่อของหมวดหมู่ที่เราจะสร้าง  เช่น ผมจะสร้างบทความสอนทำเว็บ  ผมก็สร้างหมวดหมู่  “สร้างเว็บไซต์ด้วยตนเอง” ขึ้นมาเพื่อเก็บบทความเกี่ยวกับวิธีการสร้างเว็บเอาไว้ทั้งหมด   โดยชื่อนี้จะถูกนำไปแสดงบทหน้าเว็บไซต์ด้วยนะ  ถ้าเราต้องการให้เว็บเราแสดงหมวดหมู่บนหน้าแรกของเว็บ
  • Slug –  สลั๊ก  อันนี้เป็นชื่อ url  ที่จะใช้อ้างถึงหมวดหมู่นี้  ใช้ได้ทั้งภาษาไทยภาษาอังกฤษ  โดยชื่อนี้จะปรากฎบน url ของเรา  เช่น  ของผมนะ  เมื่อกี้ชื่อกำหนดว่า “สร้างเว็บไซต์ด้วยตนเอง  และส่วน slug ผมก็ใส่แบบเดียวกันเลยคือ “สร้างเว็บไซต์ด้วยตนเอง”  เอาเหมือนกันได้เลย  เวลาอ้างถึงหมวดหมู่จะเป็น url แบบนี้  http://riwwee.com/view-category/สร้างเว็บไซต์ด้วยตนเอง    
  • Parent – แพเร้น แปลว่าพ่อแม่  คือแบบว่า หมวดหมู่นี้น่ะที่เรากำลังจะสร้างเป็นลูกของหมวดหมู่ไหนมั้ย  ถ้าไม่เป็นลูกใครเกิดมาจากไม้ไผ่  ก็เลือก None  แปลว่าไม่มี    แต่ถ้าสมมติผมมีหมวดหมู่อยู่ในเว็บอยู่แล้ว คือ สร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง   ผมอาจจะสร้างหมวดหมู่ใหม่อีกรอบ ชื่อว่า  ทำเว็บ WordPress  เป็นหมวดหมู่ลูก, หรืออีกหมวดหนึ่งสร้างใหม่อีกว่า ทำเว็บ Dreamweaver  ประมาณนี้  แสดงว่า  parent 1 หมวด  สามารถมีลูกหมวดหรือเรียก sub category ได้หลายซับด้วยกัน
  • Description –  คำบรรยายก็ใส่ลงไป ว่าหมวดหมู่นี้เกี่ยวกับอะไรใส่ลงไปสัก 1 ย่อหน้า  สัก 3-4 บรรทัดเพื่อบรรยายให้คนที่เข้ามาดูข้อมูลในหมวดหมู่นี้ทราบว่าเขากำลังจะได้อ่านอะไรอยู่ 

เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จแล้ว ก็กดปุ่ม  Add New Category  เพื่อทำการเพิ่มหมวดหมู่  เสร็จแล้วง่ายมั้ย

 

มาดูฝั่งขวา

ใสส่วนนี้จะแสดงรายการของหมวดหมู่ของเว็บ wordpress ที่เราได้เพิ่มเอาไว้  คุณสามารถแก้ไข หรือลบก็ได้  แต่มาดูการแก้ไขกันก่อนดีกว่า  จะมีการแก้ไขสองแบบ คือ

  • Edit – แก้ไขแบบเต็มๆ  กดแล้วจะไปอีกหน้าหนึ่งที่ใช้ในการจัดการหมวดหมู่  มีอะไรให้แก้ไขหลายอย่าง
  • Quick Edit – แก้ไขแบบด่วนเร็วๆ  เมื่อกดแล้วจะมีแถบเลื่อนออกมาให้แก้ไขภายในหน้าปัจจุบันเลย มีเฉพาะรายละเอียดที่จำเป็นให้ใช้งาน
  • Delete – กดเพื่อลบหมวดหมู่  (ในรูปด้านล่างจะไม่ปรากฎ Delete เพราะมันหมวดหมู่ Uncategorized ไม่ให้ลบ เป็นหมวดหมู่ที่เว็บไซต์ WordPress ขอสงวนเอาไว้)
  • View – กดเพื่อดูหมวดหมู่บนหน้าเว็บไซต์เรา

 

Edit

ดูภาพด้านล่างนี้ผมชี้ไปที่ Edit ครับ ลองคลิ๊กดูตามภาพ

wordpress category

ฝั่งขวาสำหรับจัดการ หมวดหมู่ – แก้ไข ลบ ดู – wordpress category

จะถูกส่งไปยังหน้าถัดไปตามนี้

แก้ไขหมวดหมู่ wordpress

แก้ไขหมวดหมู่ wordpress

จากภาพด้านบนนี้ผมคลิ๊ก Edit เพื่อทำการแก้ไขหมวดหมู่ที่ชื่อว่า Uncategorized  เมื่อขึ้นหน้าแก้ไขตามภาพด้านบนมาผมก็ลองแก้ไขดู 

  • Name – เปลี่ยนเป็นชื่อภาษาไทยซะเลย
  • Slug – คือชื่อ URL เคยอธิบายไว้แล้ว  ผมไม่เปลี่ยนแปลงอะไร
  • Parent  Category – เลือก None
  • Description – ก็ใส่คำพูดลงไป 

สังเกตว่าหน้าสำหรับแก้ไขหมวดหมู่ ก็คล้ายๆกับส่วนแรกด้านซ้ายที่ใช้ในการสร้างหมวดหมู่นั่นเอง  แก้ไขเสร็จแล้วก็กดปุ่ม  Update  อยู่ด้านล่างสุดของหน้าแก้ไข

 

Quick Edit

กลับมาต่อที่ Quick Edit หรือแก้ไขแบบด่วน  ลองคลิ๊กดูจะพบแถบหน้าจอที่ถูกเลื่อนออกมาใต้รายการที่เราคลิ๊ก  ประมาณนี้

แก้ไขด่วน - quick edit - wordpress category

แก้ไขด่วน – quick edit – wordpress category

ในส่วน Quick Edit จะแก้ไขได้แค่สองอันคือ  Name และ Slug  ในส่วนของ Parent Category กับ Description ไม่สามารถแก้ได้  ก็สะดวกดี เพราะบางครั้งผมก็ต้องการแค่แก้ชื่อ Name เท่านั้น  ไม่ได้อยากแก้รายละเอียดคำบรรยาย Description  ถ้าใช้ Quick Edit กดปุ๊บปั๊บจะเปิดออกมาให้แก้เลยเร็วมาก ไม่ต้องโหลดหน้าใหม่  แก้เสร็จอย่างลืมกด  Update Category 

 

Delete

การลบหมวดหมู่ทำได้ไม่ยาก  เมื่อเราเอาเม้าส์ไปชี้ที่รายการหมวดหมู่ของเรา  ใต้ชื่อหมวดหมู่จะปรากฎ action หรือการกระทำมาให้เราเลือก เช่นเคย ดูตามภาพเลยละกัน

อันนี้เป็นชื่อหมวดหมู่ที่ผมสร้างคือ หมวดหมู่บทความแนะนำ  มันจะมี action อยู่ 4 อัน คือ Edit, Quick Edit , Delete และ View  คำสั่ง Delete จะปรากฎมาให้ลบได้กับหมวดหมู่ทั่วไป  ยกเว้นหมวดหมู่ Uncategorized จะไม่สามารถลบได้  สังเกตภาพด้านบนคล้ายๆนี้เลื่อนๆขึ้นไปดูที่หมวด Uncategorized จะไม่มีคำสั่งลบ delete 

ถ้าเรากดปุ่มนี้ ก็อย่างที่รู้ Delete คือลบ ลบแล้วลบเลยคิดให้ดีก่อนลบละกัน

ในเว็บ WordPress จะมีหมวดหมู่หลักเลยที่ลบไม่ได้คอื Uncategorized ใช่มั้ย  สมมติว่าผมสร้างอีกหมวดขึ้นมา คือ บทความแนะนำ แสดงว่าในตอนนี้ผมมีสองหมวดหมู่  ทีนี้ผมก็ไปสร้างบทความประเภท Post กำหนดให้บทความนั้นอยูในหมวดหมู่ บทความแนะนำ  แสดงว่าขณะนี้  หมวดหมู่บทความแนะนำผมมี 1 บทความอยู่ด้านใน  และ Uncategorized มี 0 บทความ 

ถ้าผมเกิดไปลบหมวดหมู่ที่ชื่อว่า บทความแนะนำ ทิ้งไป  จะทำให้บทความ 1 บทความนั้นถูกย้ายมาเก็บไว้ในหมวดหมู่ Uncategorized ทันที  นี่ล่ะคือสาเหตุที่เขาไม่ให้เราลบหมวดหมู่ Uncategorized ได้  WordPress เป็นเว็บที่อ้างอิงหมวดหมู่  บทความทุกบทความ Post จะต้องมีหมวดหมู่เป็นของตัวเอง

 

แถมๆ Bulk Delete

หรือการลบหลายๆหมวดหมู่พร้อมๆกัน  ถ้าเรามีหมวดหมู่เยอะๆอยากลบพร้อมๆกัน WordPress ก็สามารถทำได้ง่ายเช่นกันเพียงแค่เลือก check box หรือทำเครื่องหมายถูกหน้ารายการที่เราต้องการลบ แล้วเลือก Bulk Actions ไปที่ Delete แล้วก็กด Apply เพียงเท่านี้ หมวดหมู่เราก็จะหายวับไปพร้อมๆกันเลย

Bulk Delete

Bulk Delete

View

กดแล้วมันจะเปิดไปที่หน้าหมวดหมู่นั้นอยู่ในเว็บ  เช่น  ผมคลิ๊กไปที่หมวดหมู่ Uncategorized มันจะเด้งไปที่ URL นี้ครับ http://yourdomain.com/view-category/uncategorized  เป็นต้น

จบแล้วครับ ยินดีด้วย คุณจบหลักสูตรการใช้งาน Category เรียบร้อยแล้ว

 

เช่าพื้นที่ทำเว็บ fastcomet เพื่อทำเว็บไซต์ของตัวเอง ลดทันที 15% คลิ๊กเลย

Leave a Reply

scroll to top