คู่มือการใช้ wordpress เรียนรู้ระบบจัดการต่างๆ – สร้างเว็บไซต์เองได้ไม่ยาก

คู่มือการใช้ wordpress

คู่มือการใช้ wordpress เรียนรู้ระบบจัดการต่างๆ – สร้างเว็บไซต์เองได้ไม่ยาก

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน  มาต่อกันเลยนะครับ  จากบทความที่แล้ว  ผมได้สอนวิธีการติดตั้ง WordPress ไปแล้ว  แต่ว่ายังไม่สามารถที่จะใช้งาน WordPress เป็น งั้นในบทความนี้ คู่มือการใช้ wordpress เราจะมาเรียนรู้ส่วนประกอบการจัดการต่างๆ หลังบ้านของ WordPress  ในแบบภาพรวมกันให้เข้าใจกระจ่างก่อนดีกว่า  เพื่อที่จะทำให้เราสามารถสร้างเว็บไซต์เองได้ไม่ยาก  เมื่อทุกท่านทำตามบทเรียนแล้ว  เริ่มทำเป็นแล้ว ผมจะพาไปไปยังระดับที่ลึกขึ้นเรื่อยๆ  ตามมาดูกันเลยดีกว่าครับ ไม่เสียเวลาเนาะ

สำหรับท่านที่เข้ามาอ่านหน้านี้เลยจากการค้นหา google อาจจะงงๆ ว่ามันมาตรงนี้ได้ยังไง กลับไปบทความแรกของเราได้ครับ สอนวิธีการสร้างเว็บไซต์ด้วยตนเอง  ในนั้นจะมีสารบัญหลักที่เข้าถึงได้ทุกบทความ  และค่อยๆ สอนเป็นขั้นตอนไปเรื่อยๆอย่างง่ายๆ

บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ riwwee.com แต่เพียงผู้เดียว ห้ามก๊อปปี้ หรือทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตครับ
สารบัญ

  1. เริ่มต้นเข้าสู่ระบบ
  2. แนะนำแผงควบคุม Dashboard
  3. แนะนำเมนูควบคุมด้านซ้าย
    1. icon รูปบ้าน  (ลิงค์ไปยังหน้าเว็บไซต์)
    2. ปุ่ม Home   (เข้าสู่แผงควบคุม)
    3. ปุ่ม Update  (แสดงอัพเดต เมื่อมีมาใหม่)
    4. ปุ่ม Posts   (สำหรับโพสต์บทความ)
    5. ปุ่ม Media  (สำหรับอัพโหลดรูปเก็บในเว็บ)
    6. ปุ่ม Pages  (สำหรับโพสต์บทความ ประเภทคงที่)
    7. ปุ่ม Comments  (สำหรับจัดการความคิดเห็น)
    8. ปุ่ม Appearance   (สำหรับจัดการตั้งค่ารูปลักษณ์ของเว็บไซต์)
    9. ปุ่ม Plugins  (สำหรับติดตั้ง Plugin เพื่อเพิ่มความสามารถให้เว็บ)
    10. ปุ่ม User   (จัดการสิทธิ์การเข้าถึง   ให้ผู้ใช้งานสมาชิกรวมถึง Admin)
    11. ปุ่ม Tools   (เครื่องมือทั่วไปในเว็บ)
    12. ปุ่ม Setting  (การตั้งค่าพื้นฐานในเว็บ)
  4. สรุปคู่มือการใช้งาน

อัพเดต 30 กันยายน 2561

เช่าพื้นที่ทำเว็บ fastcomet เพื่อทำเว็บไซต์ wordpress ของตัวเอง ลดทันที 15% คลิ๊กเลย

เริ่มต้นเข้าสู่ระบบ

ความเดิมตอนที่แล้ว  ผมได้สร้าง Test Site หรือเว็บไซต์ทดสอบให้เพื่อนๆ ดูโดย url อยู่ที่ www.shofferme.com  โดเมนผมจดมั่วๆนะครับไม่ค่อยมีความหมาย จะถือเอาเว็บไซต์นี้เป็นเว็บไซต์สำหรับทดสอบให้เพื่อนๆดูผลงานละกัน  ทีนี้ผมจะให้เพื่อนๆ ได้ลองล๊อกอินเข้าหลังบ้านของเว็บตัวเอง  ในนั้นจะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ของเราต่างๆเยอะแยะไปหมด  เข้าไปครั้งแรกจะรู้สึกเหมือนเป็นผู้บริหารยังไงยังงั้น  ให้ทุกคนพิมพ์ชื่อเว็บตัวเองใน address bar ที่ไว้พิมพ์ชื่อเว็บว่า

http://www.ใส่ชื่อเว็บคุณเอง.com/wp-admin  หรือ http://ใส่ชื่อเว็บคุณเอง.com/wp-admin

ตรงคำว่า ใส่ชื่อเว็บคุณเอง ให้แทนที่ด้วยชื่อเว็บไซต์ที่จดทะเบียนมานะครับ  และตามหลังด้วย url เว็บ ติ่งๆ  คือ wp-admin   จำ wp-admin ให้ดีเพราะนี่คือทางเข้าหลังบ้านของท่าน  ประตูๆ จำไว้  แล้วมันก็จะแสดงตามภาพครับหลังจาก enter

wordpress ล๊อกอิน

หน้า login wordpress admin  –  สร้างเว็บไซต์เองได้ไม่ยาก

หลังจากนั้นให้ใส่ user และ pass ของเว็บไซต์เราที่ได้มาจากบทความที่แล้ว  ที่สอนวิธีการติดตั้ง WordPress  เมื่อเรียบร้อยให้กดปุ่ม  Log in 

หลังจากนั้นระบบก็จะเข้ามาสู้หน้าแรกแบบด้านล่างต่อไปนี้

แนะนำแผงควบคุม Dashboard

สำหรับคนที่สร้างเว็บไซต์เอง  เริ่มใช้ wordpress เป็นครั้งแรกก็อาจจะงงๆ กับปุ่มที่มีเยอะแยะมากมาย  แต่ไม่ต้องตกใจนะครับ  ผมจะพาทุกคนตะลุยไปเรื่อยๆ ไม่เบื่อแน่นอน

wordpress ตั้งค่า

แผงควบคุม wordpress สำหรับ admin ใช้ในการตั้งค่าต่างๆ – คู่มือการใช้ wordpress

ดูรูปเลยนะครับว่าส่วนไหนทำอะไรบ้าง

1. สรุปเกี่ยวกับบทความหรือเนื้อหา At Glance อันนี้ใช้สำหรับดูว่าเว็บไซต์เรามีบทความกี่บทความแล้ว หรือมีคนมาเม้นกี่เม้นแล้วในแต่ละบทความของเรา  แต่มือใหม่ทุกคนอาจจะงงๆ ว่า Post กับ Page ต่างกันตรงไหน  มาทำความเข้าใจกันเลยครับ

Post  หมายถึง  เนื้อหาใดที่เราจะสร้างใส่เว็บของเราให้  กดสร้าง Post ขึ้นมา  โดยปกติแล้ว เวลาผมทำเว็บไซต์ผมจะสร้างเนื้อหาแบบ Post  ซะเป็นส่วนใหญ่  แทบจะ 95% ขึ้นไปเลย  ในเว็บไซต์ผม  บทความจะเป็นแบบ Post  โดยที่ Post เป็นเนื้อหาที่เรามักจะมาอัพเดตต่อได้  เปลี่ยนแปลงทีหลัง  เพิ่มเติมเนื้อหาของบทความเราให้ยาวขึ้น  อัพเดตบทความให้ทันสมัยเมื่อเวลาผ่านไป  อันนี้เรียกเนื้อหาเว็บแบบ Post แล้วอีก 5% หรือน้อยกว่าคืออะไร ก็คือเนื้อหาแบบ Page นั่นเอง

Page หมายถึงเนื้อหาแบบคงที่  ที่เราจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ  โดยปกติแล้วเวลาผมสร้างเว็บไซต์เสร็จ ผมจะสร้างเนื้อหาแบบ Page อยู่ไม่กี่หน้าเองครับ  ก็จะมีหน้า About Us (เกี่ยวกับเรา)  หน้าวิธีการโอน  วิธีการรับประกันสินค้า  ที่อยู่ที่ติดต่อได้  เนื้อหาประมาณนี้ครับ  เราจะสร้างเป็นแบบ Page  เพราะเวลาสร้างเสร็จเราก็แทบจะไม่ได้ยุ่งอะไรกับมันเลย  เหมือนกับเป็นเนื้อหาที่คงที่เอามากๆ  เนื้อหาแบบ Page มันจะไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไรในมุมมองคนอ่านเว็บ  แต่มันจะช่วยให้คนเข้าเว็บเรา รู้สึกน่าเชื่อถือ  โดยเฉพาะเวลามาอ่านบทความเราที่เรารีวิวสินค้าแล้วอยากจะซื้อ หรืออยากติดต่อเราก็จะมาดูที่เนื้อหาแบบ Page  เป็น่ฝ่ายสนับสนุน

รู้มั้ยครับว่า  ตอนที่เราสร้างเนื้อหา  Post หรือ Page เมื่อกดสร้างแล้ว  wordpress ของเราจะเปิดหน้าเครื่องมือหรือ editor สำหรับใช้เขียนบทความขึ้นมาแทบจะเหมือนกันทุกประการ  ดังนั้น Post กับ Page  มันเป็นแค่ชนิดของบทความให้เราใช้ในการแยกแยะเท่านั้นเองง  บางคนบอกว่า ผมพอใจจะเขียนเนื้อ

ดูตารางความสามารถของ Post กับ Page ดีกว่า

Post Page
มี editor สำหรับเขียนบทความ มี มี
ใส่รูปภาพปกของบทความ ทำได้ ทำได้
ใส่รูปภาพในเนื้อหาบทความ ทำได้ ทำได้
กำหนดการจัดวางของข้อความ ทำได้ ทำได้
ควบคุมการเผยแพร่ หรือเขียนเป็นฉบับร่าง ทำได้ ทำได้
กำหนดชนิดบทความ Link, Gallery, Quote, Video,Audio ทำได้  
จัดหมวดหมู่ Categories ของบทความ ทำได้  
ใส่แทก Tag ทำได้  

ถ้าดูจากตารางข้างต้นแล้ว แสดงว่า บทความชนิด Post ก็จะมีความสามารถมากกว่า  ดังนั้นจำไว้เลยว่าเวลาจะเขียนอะไรที่เป็นเนื้อหาหรือบทความให้เขียนเป็น ชนิด Post จะดีที่สุด   ส่วนชนิด Page ใช้สร้างเนื้อหาแค่ช่วงแรกๆตอนก่อตั้งเว็บเท่านั้น พอสร้างเว็บเสร็จก็จะไม่ค่อยได้ยุ่งกับมันอีกเลย

2. Post ด่วน ฉบับร่าง / Quick Draft   ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าใช้สร้างโพสต์ด่วน  เพราะว่า  มันใส่ได้แค่ชื่อบทความและเนื้อหาเลย  แบบว่าเวลาเรากำลังมี idea แต่เรายังไม่อยากเขียน  ก็จะใส่ไว้ตรงนี้แล้วก็กด  Save Draft หรือบันทึกฉบับร่างเอาไว้   ไม่ค่อยสำคัญมากสำหรับผมไม่ได้ใช้เลยอันนี้

3. Activity  ตรงส่วนนี้เวลาเราทำเว็บเราไปนานๆ  อาจจะมีการโพสต์บทความไปเรื่อยๆ  หรือมีคนมาเม้น  เราจะสามารถเห็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดเรียงลงมาเป็น Timeline ให้เราเห็นล่าสุดได้เลย  ส่วนนี้สำคัญอยู่ผมใช้ประจำไว้ดูเฉยๆ

4. WordPress Events and News   มันจะบอกข่าวเกี่ยวกับ WordPress ว่าตอนนี้ WordPress ได้พัฒนาอะไรไปแล้ว  มีอะไรอัพเดตกำลังจะมาใหม่บ้าง  ส่วนใหญ่เลยครับผมไม่ได้ดูเลย

5. ข้อความต้อนรับ   ก็จะมีเครื่องมือแนะนำสำหรับผู้ที่พึ่งติดตั้งเว็บ  อาจจะไม่สำคัญ ปกติแล้วผมจะปิดมันไว้

6. เมนูลัด  ตรงนี้ก็จะมีเครื่องมือสร้างบทความ ดูคอมเม้น บลาๆๆ   ไม่ค่อยได้ใช้เท่าไรนัก

7. เมนูต่างๆ  ฝั่งซ้าย  อันนี้ใช้บ่อยมากๆเลย  เดี๋ยวมาอธิบายอีกครั้งว่าใช้ทำอะไร

เป็นไงบ้างครับหน้าแรกของ WordPress นั้นมีส่วนประกอบเท่านี้  พอจะเข้าใจแล้วเนาะ  ต่อมานะครับ ผมจะสอนวิธีการปิดส่วนที่ไม่ได้ใช้  ทีนี้ให้กวาดสายตาไปที่หัวข้อด้านบน  ผมจะมีการไฮไลต์สี ม่วงกับสีแดงเอาไว้   สีม่วง หมายถึง  ผมจะเปิดไว้  สีแดงผมจะปิด   ไม่ค่อยได้ใช้ มันจะรกสายตา มาดูวิธีการปิดก้ัน  ถ้าปิดแล้วอยากเปิดใหม่อีกครั้งก็ได้นะครับ

ปิด ข้อความต้อนรับ wordpress - สร้างเว็บไซต์เอง

ปิด ข้อความต้อนรับ wordpress

กดตามรูปเลยครับเพื่อปิดข้อความต้อนรับของ WordPress  และดูรูปต่อมา

เปิด/ปิด ส่วนต่างๆบนหน้าแรกแผงควบคุม wordpress

เปิด/ปิด ส่วนต่างๆบนหน้าแรกแผงควบคุม wordpress

ในรูปด้านบนนี้ให้คลิ๊กที่หมายเลข 1 ก่อน คือ Screen Options   และจะมีหน้าต่างเปิดขึ้นมาจากด้านบน   ผมจะติ๊กถูกเฉพาะ At a Glance และ Activity เท่านั้นนนะครับ  ส่วนที่เหลือเอา ติ๊กออกให้หมดเลย  หน้าจะได้โล่งๆ เหลือแต่ส่วนที่เราจะใช้งาน  เมื่อเสร็จแล้วให้คลิ๊กที่ Screen Option อีกครั้งเพื่อปิดหน้าต่าง   ผลลัพธ์หลังจากทำเสร็จจะเป็นแบบนี้

ลาก panel wordpress

คลิ๊กที่หัว panel ของ wordpress สามารถลากเปลี่ยนแปลงตำแหน่งการจัดวางได้

ผลลัพธ์

คู่มือการใช้ wordpress

 

แนะนำเมนูควบคุมด้านซ้าย

wordpress menu

สำหรับส่วนเมนูนี้ผมจะอธิบายเรียงกันตั้งแต่บนสุดไปยังล่างสุดเลยนครับ

1. icon รูปบ้าน

เขียนว่า My Blog ถ้ากดแล้วมันจะเด้งไปที่หน้าบ้าน  หรือที่หน้าเว็บไซต์ของเรา  บางคนอาจจะไม่ได้เขียนว่า My Blog ก็ได้นะครับ เพราะมันจะแสดงชื่อเว็บไซต์ของเราตั้งแต่ขั้นตอนการติดตั้งในบทความที่แล้ว

หน้าแรก wordpress

2. Home 

เมื่อกดแล้ว มันจะเปิดหน้าแรก หรือหน้า Dashboard ขึ้นมา  เหมือนหัวข้อที่แล้วที่ผมได้อธิบายไปก่อนหน้า

คลิ๊กเพื่อเปิด dashboard wordpress

คลิ๊กเพื่อเปิด dashboard wordpress – คู่มือการใช้ wordpress

3. Updates 

เวลามีอัพเดตใหม่ๆ ขึ้นมา  มันจะขึ้นตัวเลขแดงๆ ท้ายอัพเดต  บอกว่ามีอัพเดตของ WordPress ใหม่มานะให้เราคลิ๊กเข้าไปเพื่ออัพเดตด้วย   หน้านี้จะใช้แสดงแบบรวมๆ  อัพเดตทั้งหมดจะแสดงที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นอัพเดต ธีมเว็บไซต์ใหม่  หรือ Plugin  ตอนนี้บางคนอาจจะยังไม่รู้จัก ธีมเว็บไซต์ เดี๋ยวผมจะอธิบายในส่วนต่อๆ ไป  ตรงนี้ให้เข้าใจว่ามันคือที่อัพเดตเว็บของเราก็พอ

กดที่นี่เพื่ออัพเดต wordpress

กดที่นี่เพื่ออัพเดต wordpress

แล้วอัพเดตมีประโยชน์อย่างไรรู้มั้ยครับ  กรณีที่ WordPress อัพเดต Version ใหม่ ให้ทุกคนอัพเดตตามเรื่อยๆ  เพราะว่าม้ันจะช่วยทำให้เว็บเราปลอดภัย  ต่อการโดอน Hack Website  เชื่อมั้ยครับว่า พอเว็บเราเริ่มมีคนเข้าเว็บสัก 100 คนต่อวัน  มันก็จะเริ่มมีบอท มีเรื่องมือแปลกๆ พยายามเจาะเว็บเราอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการอัพเดตเป็นเรื่องสำคัญ  เมื่อมีอะไรใหม่ ให้อัพเดตทันที

4. Posts 

ลองกดที่ปุ่ม Post ดูจะพบกับหน้าจอแบบด้านล่างนี้

หน้าแสดงรายการโพสต์ทั้งหมดของเว็บไซต์

หน้าแสดงรายการโพสต์ทั้งหมดของเว็บไซต์ – สร้างเว็บไซต์เอง

ตอนนี้เรามีโพสต์แค่ 1 บทความเท่านั้นเอง  เป็นบทความแรกเริ่มที่มากับการติดตั้งในครั้งแรก  เมนูย่อยๆ ทั้งหมด ฝั่งด้านซ้ายจะสามารถที่จะ

  • All Posts  ใช้ดูโพสต์ทั้งหมดในเว็บของเรา
  • Add Posts คลิ๊กเพื่อทำการเพิ่มบทความใหม่ในเว็บ
  • Categories  คลิ๊กเพื่อสร้างหมวดหมู่
  • Tags คลิ๊กเพื่อสร้าง Tag ใหม่  สำหรับ Tag คืออะไร  ก็คล้ายๆ กับ hashtag ใน ig นั่นล่ะครับ ถ้าบทความที่เราเขียนอยู่คนละหมวดหมู่  แต่อาจจะมี tag เดียวกันก็เป็นได้    แล้วแต่เราจะกำหนดเลยครับ  จริงๆ แล้วในตอนที่เราสร้างบทความ WordPress ก็จะมีที่ให้เรากำหนด tag สำหรับบทความนี้ด้วย  เดี๋ยวเราค่อยไปเรียนรู้วิธีโพสต์ทีหลัง  ตอนนี้เราไปเรียนกันต่อดีกว่าว่ามีอะไรบ้างใน WordPress

5. Media

เพิ่มหรือจัดการรูปภาพในเว็บไซต์ wordpress ได้จากตรงนี้

เพิ่มหรือจัดการรูปภาพในเว็บไซต์ wordpress ได้จากตรงนี้

  • Media > Library  แสดงรูปทั้งหมดในเว็บ  แต่ตอนนี้เรายังไม่ได้ใส่ลงไป    ปกติผมไม่ค่อยได้เข้ามาตรงนี้สักเท่าไร  เพราะตอนที่เราเขียนบทความมันจะมีปุ่มให้เพิ่ม รูปภาพเพื่อแทรกใส่ในบทความด้วยนั่นเอง  เลยไม่ได้จำเป็นต้องเข้าจากตรงนี้
  • Add New  กดเพื่อเพิ่มรูปภาพใหม่  เมื่อกดเข้าไปแล้ว  เราสามารถลากรูปภาพจากคอมพิวเตอร์ของเราไปวางไว้  มันจะอัพโหลดให้อัตโนมัติ

6. Pages

ส่วนใช้ในการจัดการ Page ของ WordPress - คู่มือการใช้ wordpress

ส่วนใช้ในการจัดการ Page ของ WordPress

  • All Pages  ใช้เพื่อดูหน้า Page ทั้งหมดของ WordPress คงจำกันได้เนาะว่า Post กับ Page ต่างกันตรงไหน ส่วนต้นอธิบายไว้แล้ว
  • Add New  กดเพื่อสร้างหน้า Page ใหม่

7. Comments

คลิ๊กเข้ามาเพื่อเปิดดู  คอมเม้นที่เกิดขึ้นทั้งหมดในเว็บของเรา มีใครมาเม้นบทความเราบ้าง  เราตอบข้อความใครไปบ้างแล้ว  จัดการได้จากส่วนนี้  แล้วเม้นมันจะเกิดขึ้นได้ยังไง  ก็ให้ตั้งใจเขียนบทความ ความรู้ในส่วนที่เรารู้จริง เป็นผู้เชียวชาญ แล้วบทความเราก็จะมีคนมาแชร์ หรือมาเม้นตอบ บทความของเราเองครับ

จัดการ comment ของ wordpress

8. Appearance

ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า Appearance การปรากฎ รูปลักษณ์เว็บไซต์  ใช้ปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ของเรา  เมื่อคลิ๊กเข้ามาจะพบกับ ส่วนจัดการ ธีม (Theme) ของเว็บ  ธีม คืออะไร  ก็คือส่วนที่ทำให้เว็บเราแตกต่างกันไป    ปกติแล้วสมัยก่อนเวลาเราจะทำเว็บให้สวย เราต้องเขียนโค้ดหรือออกแบบเว็บไซต์เอง  มันเป็นเรืื่องยากมาก  อย่างผมนะครับ ผมเป็นโปรแกรมเมอร์ ถนัดการเขียนโค้ด  แต่ออกแบบไม่เก่ง  แล้วทำยังไงผมถึงจะออกแบบเว็บสวยๆ ขึ้นมาได้ ต้องขอบคุณยุคนี้ครับ  ยุคที่ทุกอย่างพร้อมไปหมด  งานง่ายๆ ของผมคือ ไปหา ธีมเว็บสวยๆ แล้วก็เอามาติดตั้งใส่ WordPress ตัวเองเท่านั้นเอง  ง่ายมากๆ   และก็มาตั้งค่า ธีมอีกสักหน่อย ก็สวยแล้ว  ไม่ต้องไปออกแบบโครงสร้างหน้าเว็บยากๆอีกต่อไปเลย  เดี๋ยวบทความต่อๆ ไปหาจะสอนวิธีหา Theme และ ติดตั้ง Theme เข้าเว็บไซต์ของเราต่อไป

ปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ รูปลักษณ์ของเว็บไซต์ wordpress - สร้างเว็บไซต์เอง

ปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ รูปลักษณ์ของเว็บไซต์ wordpress

Customize จะใช้ในการ  ปรับแต่งชื่อเว็บ,  สี, ภาพหลัง, เมนู , หรือคุณสมบัติต่างๆบนหน้าเว็บของเราเอง  แต่ละธีม จะมีที่ให้ปรับแต่งไม่เหมือนกันนะครับ  บางธีม เมื่อคลิ๊กเข้ามาแล้วอาจจะมีอะไรให้ปรับแต่งเยอะ  เดี๋ยวในบทความนี้เรามาทำความรู้จักคร่าวๆ ถึงปุ่มต่างๆ กันก่อนนะครับ ส่วนวิธีการใช้งานจริงๆ ในแต่ละส่วนเดี๋ยวผมจะเจาะลึกในบทความต่อๆ

Widgets คือ  อะไร  เคยใช้ Widget ในมือถือมั้ยครับ  เช่นเปิดมือถือมา มันจะมีพยากรณ์อากาศ อยู่หน้าแรกของมือถือซัมซุง  Widget คือเครื่องมือเฉพาะสำหรับใช้จัดการหน้าเว็บให้มีความสามารถแบบที่เราต้องการ  ตัวอย่างของ Widget  เช่น Widget Calendar , Widget Gallery, Widget Recent Post ฯลฯ  เป็นต้นนะครับ  เราอยากให้หน้าเว็บเราแสดงปฏิทิน เราก็เพิ่ม Widget Calendar ลงไป  หรือเพิ่ม Widget Gallery ถ้าหากอยากให้เว็บเรามี แกลเลอรี่ภาพแสดง  พอเข้าใจเนาะ  ไม่รู้จะอธิบายเป็นคำภาษาไทยยังไง  แต่ที่อธิบายไปมันคือหน้าที่ของ Widget  ดังนั้น Widget เสมือนเครื่องมือที่มีความสามารถเฉพาะทาง ใช้ตกแต่งหน้าเว็บให้มีความสามารถเฉพาะทางตามแบบที่เราต้องการ

Menus  หน้านี้ใช้จัดการเมนูต่างๆที่มีอยู่ในเว็บไซต์ของเราเอง  ถ้านึกถึงเมนู  ให้นึกถึงเวลาเข้าเว็บไปเว็บอะไรก็ได้ ที่ด้านบนๆ จะมีแถบบาร์  ยาวๆ มีลิงค์  อยู่ในเมนู เขียนว่า  หน้าแรก  ติดต่อเรา  สินค้า  ฯลฯ  ประมาณนี้

background   ใช้ใส่ background image นั่นเอง จริงๆ   จริงๆ เราสามารถทำได้จากหน้า Customize ที่พูดไปข้างต้น

Editor  คือส่วนที่แสดงไฟล์ระบบ ของ WordPress   สำหรับมือใหม่ อย่ายุ่งกับส่วนนี้เลย  เดี๋ยวเว็บจะพังครับ  ขนาดมือเก่าอย่างผมยังไม่ค่อยได้ยุ่งเท่าไรเลยครับ  เพราะปกติ WordPress มันก็สามารถปรับแต่งได้ตามใจผมอยู่แล้ว  โดยที่ผมไม่จำเป็นต้องเข้ามาที่หน้า Editor เลยครับ

 

9. Plugins

สำหรับส่วนนี้ในคู่มือการใช้ wordpress ฉบับนี้  ผมชอบที่สุดครับ  เพราะ  มันทำให้เว็บไซต์ของผมมีความสามารถที่หลากหลาย  WordPress เปรียบเสมือนเครืองมือตั้งต้น   ผมกับคุณผู้อ่าน  สามารถปรับแต่ง WordPress  สร้างเว็บไซต์เอง ให้มันมีความสามารถได้แตกต่างกันไป  ตามงานเฉพาะที่เราอยากให้มันเป็น   ส่วนปลั๊กอินเลยเหมือนส่วนอัพเกรดความสามารถให้เว็บไซต์ของคุณ มีโครงสร้างไปในทิศทางที่เราอยากให้เป็น  โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดอะไรเลย  เพราะปัจจุบันนี้ผู้คนมากมายได้เขียน Plugin เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ  แทบจะครอบคลุมเลยล่ะในความสามารถทุกแขนง  คุณสามารถมีเว็บไซต์เทพๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรม

จัดการ ปลั๊กอินของเว็บไซต์

จัดการ ปลั๊กอินของเว็บไซต์

แล้วปลั๊กอินมีอะไรบ้าง   ผมจะยกตัวอย่างให้ดูเล่นๆ นะครับ เดี๋ยวเราจะมีหัวข้อใหญ่เกี่ยวกับปลั๊กอินให้แน่ๆ ครับ  พูดถึงแต่เรื่องปลั๊กอิน วิธีการจัดการมันทุกอย่างเลย    เช่น  Google Analytics ปลั๊กอินช่วยนับสถิติคนเข้าเว็บ,  Security Guard ใช้ปกป้องเว็บไซต์จาก hacker ผู้ไม่ประสงค์ดี,  Mail Server ช่วยในการให้เว็บไซต์ของคุณส่งเมล์รายงานคุณเวลามีคนมาเม้น หรืออะไรก็ตาม เป็นต้นเนาะ ประมาณนี้

  • Installed Plugins คือ ปลั๊กอินที่ถูกติดตั้งไว้แล้วในเว็บเรา
  • Add New  อยากเพิ่มปลั๊กอิน เพิ่มได้จากที่นี่  เราสามารถเพิ่มได้สองแบบคือ ดาวน์โหลดมันมาไว้บนคอมเราแล้วอัพโหลดเข้าไป  หรือจะเข้าไปเลือกใน WordPress Store  ขอเรียกแบบนี้นะครับ  เพราะมันเหมือนกับ App store ของ iphone หรือ playstore ของ google นั่นเอง
  • Editor  ก็เป็นส่วนที่ใช้ในการแก้ไขโค้ดของปลั๊กอิน  ไม่ต้องยุ่งจะดีกว่าครับ ส่วนนี้

 

10. Users

ใช้จัดการผู้ใช้ในเว็บตัวเอง  เช่น เพิ่ม Admin เพื่อมาช่วยดูแลเว็บเรา จริงๆ แล้ว user จะมีหลาย level มากๆ  เช่นเราต้องการให้คนนี้จัดการได้แค่เพิ่มบทความ    แต่อีกคนอยากให้เพิ่มบทความได้ด้วย จัดการปรับแต่งเว็บได้ด้วย  ดังนั้นสิทธิการเข้าถึงของ user ก็จะแตกต่างกันไป

จัดการ user ของเว็บไซต์ wordpress

    จัดการ user ของเว็บไซต์ wordpress
  • All users แสดงรายการชื่อของ user ทั้งหมด
  • Add New ใช้เพิ่ม user ผู้ใช้คนใหม่
  • Your Profile  ใช้จัดการข้อมูลของเราที่จะแสดงหรือไม่แสดงบนเว็บไซต์

11. Tools

ในส่วน Tools นี่ผมแทบจะไม่ได้ใช้เลยครับ  มันเป็นเครื่องมือใช้  import หรือ export

  • export มีความหมายคือ  ส่งออก  บางครั้งเราต้องการ  ส่งเนื้อหาในเว็บออกทั้งหมด  WordPress ก็สามารถทำได้อยู่ในรูปของ XML files ซึ่งเป็นไฟล์ที่ใช้ในการสื่อสาร ส่งข้อมูลระหว่างเว็บ หรือโปรแกรมใดๆในโลกนี้ก็ได้  เหมือนเป็นมาตรฐานกลางในการสื่อสาร  เราสามารถเอาไฟล์ xml ที่ได้ ไป import นำเข้าใส่เว็บอื่นของเราก็ย่อมได้
  • import  ใช้สำหรับ import ไฟล์ xml ที่ผมพูดถึง  เพื่อนำเข้าเว็บไซต์  หรือจะ import บทความจาก Blogger.com  ฯลฯ มีอีกมากมาย  โดยสรุปแล้ว  import เกี่ยวกับการนำข้อมูลเนื้อหาเข้าเว็บไซต์

เอาเป็นว่าไม่ค่อยได้ใช้ครับ  อันนี้ลืมๆ ไปได้เลย ฮ่าๆ  จริงๆ ผมแทบไม่ได้แตะ

 

12. Setting

ในส่วนของ General Setting หรือการตั้งค่าทั่วไป  ก็จะเป็นส่วนพื้นฐานที่เราอยากตั้งค่าให้กับเว็บไซต์เรา มาดูการตั้งค่าในส่วนต่างๆ กันดีกว่า

การตั้งค่าเว็บไซต์ wordpress

การตั้งค่าเว็บไซต์ wordpress – คู่มือการใช้ wordpress

  • General   เช่น  อยากเปลี่ยนชื่อเว็บไซต์  อยากเปลี่ยน คำพูดสโลแกนเว็บไซต์  อีเมล์ของแอดมิน  เวลาที่แสดงในเว็บไซต์  Timezone  การจัดรูปแบบ เยอะแยะมาก
  • Writing  การตั้งค่าเกี่ยวกับการเขียน  งานเขียนของเรา  อยากให้มันอยู่ในรูปแบบไหน    ตั้งค่าเมล์ที่จะใช้โพสต์ WordPress รู้มั้ยครับว่า  เราสามารถโพสต์บทความให้กับ WordPress ได้จาก อีเมล์ของเราเลย  แบบว่าเราจะตั้งค่าเมล์ๆหนึ่งให้ WordPress แล้ว  ถ้ามีข้อความเมล์ส่งเข้าไปที่เมล์ของ WordPress  ตัว WordPress เองจะนำข้อความในเมล์มาโพสต์อัตโนมัติ
  • Reading  ตั้งค่าสำหรับการแสดงผลการอ่าน   อยากให้หน้าแรกแสดงผลแบบไหน ก็ว่ากันไป  แสดงผล 10 โพสต์ล่าสุด   เป็นต้น
  • Discussion  ส่วนนี้สำหรับตั้งค่าการคอมเม้น  เช่นเรา ตั้งค่าไว้ว่า ผู้ใช้ที่ลงทะเบียนก่อนเท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์คอมเม้นในเว็บไซต์  หรือจะตั้งค่าว่า  ถ้าโพสต์นี้เกิน 14 วัน  จะปิดคอมเม้นไม่ให้ใครสามารถคอมเม้นได้อีก
  • Media  ตั้งค่าว่า  ขนาดของรูปภาพหลังอัพโหลดควรเป็นเช่นไร   เป็นต้น
  • Permalink เป็นการตั้งค่ารูปแบบลิงค์  ให้กับเว็บไซต์  เราอยากให้เว็บไซต์เราแสดงลิงค์แบบไหน  ก็สามารถตั้งได้เลย

สรุป

จบแล้ววว  เป็นยังไงกันบ้างครับ  สำหรับ คู่มือการใช้ wordpress บทความนี้  เป็นบทความที่พาทุกคนสำรวจ หลังบ้าน หรือเครื่องมือจัดการต่างๆของ Admin เว็บไซต์   เป็นการสำรวจค่อนข้างละเอียดเลย  แต่ผมยังไม่ได้พาเจาะลึกในส่วนต่างๆ นะครับ  ติดตามอ่านบทความต่อไป   ผมจะพาจับมือทำ Step By Step อีกทีละขั้นตอนในส่วนต่างๆ แยกเป็นบทความๆไปเลย และในตอนนี้ผมเชื่อว่า  ตอนนี้ทุกคนคงเริ่มมีความรู้เล็กน้อย ที่จะสามารถหาข้อมูลต่อไปได้แล้วถ้าอยากล้ำหน้าไปก่อน ก็ไปค้นหาข้อมูลต่อไปได้เลยนะครับ อยากรู้ส่วนไหน ก็แค่พิมพ์ว่า “wordpress [คำ] วิธี  ถ้าอยากกด Bookmarks หรือแชร์เก็บไว้อ่านก็แชร์ได้เลยครับ

แต่ถ้าใครอยากจะแชร์สารบัญบทความทั้งหมดไว้อ่าน แนะนำไปแชร์บทความนี้ด้วยครับ  สอนวิธีการสร้างเว็บไซต์ เรียนรู้ด้วยตนเอง  ทุกบทความใหม่ๆ หลังจากนี้ผมจะกลับไปทำลิงค์เป็นสารบัญเป็นระบบระเบียบให้จากหน้านั้น  สำหรับวันนี้บทความสอนทำเว็บฉบับนี้ก็จบลงเท่านี้  ลาแล้วล่ะครับ

เช่าพื้นที่ทำเว็บ fastcomet เพื่อทำเว็บไซต์ wordpress ของตัวเอง ลดทันที 15% คลิ๊กเลย

บทความถัดไป (Up Next)

วิธีสร้างเว็บ – มาดูในส่วนของการตั้งค่า wordpress ครั้งแรก

2 Replies to “คู่มือการใช้ wordpress เรียนรู้ระบบจัดการต่างๆ – สร้างเว็บไซต์เองได้ไม่ยาก”

  1. Wirat says:

    สอบถามหน่อยครับ
    ผมลืม User name กับ Password ทำยังงัยครับ log in ไม่ได้

    1. login wordpress หรือ login fastcomet ครับ

Leave a Reply

scroll to top